การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เกี่ยวกับข้อถกเถียงไวยากรณ์ภาษาอาหรับระหว่างสำนักบัศเราะห์และสำนักกูฟะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์แนวคิดทางทฤษฎีเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอาหรับ (2) สังเคราะห์องค์ความรู้ทางภาษาศาสตร์เพื่อใช้อธิบายข้อถกเถียงทางภาษา และ (3) นำเสนอองค์ความรู้ทางแบบลักษณ์ภาษาเพื่อใช้อ้างอิงในงานวิจัยทางภาษา
งานวิจัยนี้ใช้แนวทางวิจัยเชิงเอกสาร(documentary research) วิเคราะห์ข้อถกเถียงทางไวยากรณ์ภาษาอาหรับระหว่างสำนักบัศเราะห์และสำนักกูฟะห์จากงานของอิบน์ อัล-อันบารีย์ (Ibn al-anbārī) โดยใช้กรอบทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ ผู้วิจัยได้ใช้มุมมองแบบข้ามสมัย (diachronic perspective) วิเคราะห์ข้อถกเถียงในระดับเสียง หน่วยคำ คำ และความหมาย โดยใช้มุมมองแบบร่วมสมัย (synchronic perspective) ร่วมกับทฤษฎีไวยากรณ์ภาษาศาสตร์วิเคราะห์ในข้อถกเถียงระดับวลีและประโยค นอกจากนี้ ยังพิจารณาข้อยกเว้นทางไวยากรณ์ที่ปรากฏในกาพย์โคลง (poetic license) ในฐานะรูปแปรทางภาษา ผู้วิจัยพบว่าข้อถกเถียงทางไวยากรณ์ระหว่างทั้ง 2 สำนักแสดงให้เห็นถึงลักษณะของภาษาอาหรับก่อนจะกลายเป็นภาษามาตรฐาน (pre-standardized Arabic) โดยสำนักกูฟะห์มีทัศนะที่จะรักษารูปแปรที่หลากหลายทางภาษาเอาไว้ ในขณะที่ทัศนะของสำนักบัศเราะห์ใช้การเปรียบเทียบแบบจัดระบบไวยากรณ์ให้มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน อย่างไรก็ดีเมื่อวิเคราะห์ลักษณะของภาษาอาหรับผ่านข้อถกเถียงระหว่างทั้ง 2 สำนัก เช่น การลบเสียงกักเส้นเสียง (glottal stop) การละรูปของสัมพันธกริยา (copula verb) และกลวิธีแสดงความเจาะจง (definiteness) พบว่า มีลักษณะสอดคล้องกับแบบลักษณ์ภาษาที่ปรากฏในภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะภาษากลุ่มเซมิติก (Semitic) และภาษาตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติก (Afro-Asiatic) ซึ่งเป็นภาษาตระกูล เดียวกับภาษาอาหรับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร