รำโหม่งส่วยยี

Main Article Content

ยุทธพงษ์ จีโนสวัสดิ์
ชนัย วรรณะลี
พิมณภัทร์ ถมังรักษ์สัตว์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทความเป็นมาของการรำโหม่งส่วยยี (2) ศึกษาองค์ประกอบและกระบวนท่ารำโหม่งส่วยยี  และ (3) วิเคราะห์โครงสร้างกระบวนท่ารำโหม่งส่วยยีที่มีการสืบทอดกระบวนท่ารำมาจากราชสำนักหอเจ้าฟ้า โดยศึกษากระบวนท่ารำจากนางจันจิรา อินทนิเวศน์ ผู้ได้รับการถ่ายทอดท่ารำจากนางรำในราชสำนักหอเจ้าฟ้ารุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากหนังสือ ตำรา บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ            ลงภาคสนามเพื่อฝึกปฏิบัติท่ารำ  ดำเนินการรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย  ผลการศึกษาพบว่า (1) การเข้ามาของชนชาติไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่าได้นำเอาการแสดงรำโหม่งส่วยยีเข้ามาในเมืองแม่ฮ่องสอน และได้เผยแพร่จากการแสดงถวายเจ้าฟ้าไทใหญ่ไปสู่ชาวบ้านเมืองแม่ฮ่องสอน และได้รับการสืบทอดมาสู่นางจันจิรา อินทนิเวศน์ ในปัจจุบัน   (2) องค์ประกอบของกระบวนท่ารำโหม่งส่วยยีประกอบด้วยผู้แสดงที่ใช้ผู้หญิงในการแสดงแต่งกายแบบสตรีนางใน ซึ่งในราชสำนักพม่าใช้วงดนตรีตอยอฮอร์นบรรเลงประกอบการแสดง  และกระบวนท่ารำได้รับมาจากนางรำในหอเจ้าฟ้า มีท่ารำหลักจำนวน 8 ท่ารำ และ (3)  ผลการวิเคราะห์โครงสร้างกระบวนท่ารำโหม่งส่วยยี พบว่า มีโครงสร้างการใช้ศีรษะ ลำตัว มือ และเท้า เหมือนอย่างนาฏศิลป์พม่า เช่น ลักษณะมือจีบแบบพม่า การรำวงสูงเหนือศีรษะ และการรำดีดเท้า เป็นต้น  ส่วนลีลาการร่ายรำ พบว่า มีการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์พม่ากับความอ่อนช้อยในการร่ายรำตามบุคลิกลักษณะนิสัยอันเรียบร้อยของชาวไทใหญ่ ในการแสดงรำโหม่งส่วยยี พบว่า ปัจจุบันการรำโหม่งส่วยยีของชาวไทใหญ่ได้เปลี่ยนบทบาทจากการแสดงในราชสำนัก เพื่อถวายความสำราญแก่เจ้าฟ้า (กษัตริย์) เป็นการแสดงเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ และเพื่อความคงอยู่ของวัฒนธรรมในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์

Article Details

บท
บทความวิจัย