การเลือกปฏิบัติต่อสตรีข้ามเพศในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะ ผลกระทบและหาข้อเสนอแนะแนวทาง ในการป้องกันการเลือกปฏิบัติต่อสตรีข้ามเพศ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพที่แตกต่างกัน 7 คน คือ พนักงานข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ 1 คน พนักงานบริษัทเอกชน 3 คน และอาชีพอิสระ 3 คน ผลการศึกษาพบว่า ในครอบครัวอบรมบุตรหลานที่มีแนวโน้มให้เติบโตในสภาพแวดล้อมความเป็นเพศชาย ส่วนในสถานศึกษาพบว่า การถูกเพื่อนล้อเลียน จะทำให้เด็กมีความรู้สึกแย่ และในสถานที่ทำงานพบการปฏิเสธไม่รับเข้าทำงานมากที่สุด ส่วนผลกระทบพบว่า ในครอบครัวส่งผลให้เกิดความเครียดถึงขั้นแยกตัวออกจากครอบครัว ด้านสถานศึกษาพบว่า การถูกล้อเลียนส่งผลให้มีทัศนคติเชิงลบต่อการไปโรงเรียน ด้านสถานที่ทำงานส่งผลให้ไม่สามารถประกอบอาชีพตามที่ตนเองถนัดได้ ส่วนการปรับตัวในครอบครัวพบว่า เลือกที่จะรับผิดชอบดูแลตัวเอง ด้านสถานศึกษาพบว่า เด็กจะไม่คบเพื่อนผู้ชายและตอบโต้โดยการใช้กำลังทะเลาะวิวาท ในสถานที่ทำงานพบว่า เลือกที่จะปรับตัวออกมาทำอาชีพอิสระ ข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันต่อครอบครัวคือ การเปิดกว้างต่อการอบรมเลี้ยงดู สนับสนุนทางการศึกษาและเสริมสร้างกำลังใจ ด้านสถานศึกษา ควรสอนเรื่องสิทธิมนุษยชน การปรับปรุงแนวทางในการรายงานพฤติกรรมนักเรียนต่อผู้ปกครอง ด้านสถานที่ทำงาน ได้แก่ การเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหาร และการเปลี่ยนทัศนคติของเพื่อนร่วมงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร