ประโยค Passiv และรูปประโยคแบบอื่นที่มีนัย Passiv ในภาษาเยอรมัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ประโยค Passiv ในภาษาเยอรมันมีความหลากหลาย ซับซ้อนและมีการแบ่งย่อยรูปและความหมายที่แตกต่างลงไปในรายละเอียดอย่างมีระบบกฎเกณฑ์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีประเด็นที่ขัดแย้งกันอยู่ในกฎเกณฑ์นั้นหรือมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง นอกจากนี้ ในภาษาเยอรมันยังมีรูปประโยคแบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีโครงสร้างเป็นประโยค Passiv แต่กลับแสดงความหมายที่มีนัย Passiv ดังนั้น Passiv ในภาษาเยอรมันจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยากสำหรับผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารวบรวมประโยค Passiv และรูปประโยคแบบอื่น ๆ ที่มีนัย Passiv ในภาษาเยอรมัน โดยอธิบายจากมุมมองของผู้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ผลจากการศึกษาได้ ข้อสรุปว่า การทำความเข้าใจเรื่อง Passiv ในภาษาเยอรมันนั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจกฎเกณฑ์และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันในแต่ละโครงสร้างอย่างถ่องแท้ แต่เมื่อเข้าใจดีแล้วกลับ ไม่ควรยึดติดกับโครงสร้างหรือคำแต่ละคำที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างนั้น ๆ สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การให้ความสนใจกับความหมายในภาพรวมและเจตนาในการสื่อสารด้วยประโยคเหล่านั้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
จินดา งามสุทธิ. (2522). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์จินตภัณฑ์การพิมพ์.
นววรรณ พันธุเมธา. (2552). ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พรสรรค์ วัฒนางกูร. (2553). ไวยากรณ์และการใช้ภาษาเยอรมันสำหรับผู้เรียนไทย (พิมพ์ครั้ง ที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐพล ทองแตง. (2552). หน่วยสร้างประธานรับการกระทำในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2524). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.
Duden. (2016). Die Grammatik. Duden Band 4. 9., vollständig überarb. und aktualisierte Aufl. Mannheim u.a.: Dudenverlag.
Fleischer, W., Helbig, G., & Lerchner, G. (Hrsg.). (2001). Kleine Enzyklopädie - Deutsche Sprache. Frankfurt a. Main: Peter Lang GmbH.
Helbig, G., & Buscha, J. (1993). Deutsche Grammatik. 15. Auflage. Leipzig: Enzyklopädie.
gehören. (2007). Retrieved from https://de.thefreedictionary.com/geh%c3%b6ren
Stalb, H. (1993). Deutsch für Studenten. München: Verlag für Deutsch.