“สิลิษฐพจนคำสยาม” ในนันโทปนันทสูตรคำหลวง: การศึกษากลวิธีการแปลแต่ง นันโทปนันทสูตรคำหลวงจากพระบาฬีนนโทปนนทสูตร

Main Article Content

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ
ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวงพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรม- ธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ในด้านการแปลแต่งเนื้อความจากพระบาฬีนนโทปนนทสูตรของพระพุทธ-สิริเถระมาเป็นภาษาไทย เพื่อพิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่ กลวิธีการแปลแต่งเนื้อความ และความสำคัญของกลวิธีการแปลแต่งประเภทต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการแปลแต่งที่ปรากฏ            ในเรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวงมี 4 ลักษณะ ได้แก่ การคงความ การเพิ่มความ การตัดความ และการแปลงความ กลวิธีดังกล่าวมีความสำคัญที่แสดงให้เห็นจุดมุ่งหมายของการแต่ง 4 ประการ (1) เพื่อเป็นการถ่ายทอดสารจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย (2) เพื่อให้เกิดความงามและความไพเราะ (3) เพื่อให้เกิดความอลังการและความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะวรรณคดีพระพุทธศาสนา และ (4) เพื่อแสดงภูมิรู้ในฐานะกวี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. (2545). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กรมศิลปากร. (2558). สุปรีติธรรมราชชาดกคำหลวง. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2547). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น: ลักษณะร่วมและอิทธิพล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ.
ซ่อนกลิ่น พิเศษสกลกิจ. (2529). เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร: กวีนักอักษรศาสตร์. ภาษาและหนังสือ, 18(2), 99-107.
“นันโทปนันทสูตรคำหลวง.” สมุดไทยขาว. อักษรไทยและอักษรขอม. ภาษาไทยและภาษาบาลี. เส้นรงค์. พ.ศ. 2275. เลขที่ 120. หอสมุดแห่งชาติ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก [ป.อ.ปยุตฺโต].
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2545). อธิบายบาลีไวยากรณ์ นาม และอัพยยศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2550). นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (2556). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ 2นามและอัพยยศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 53). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
วัลยา วิมุกตะลพ. (2514). คำเขมรในนันโทปนันทสูตรคำหลวง. วัฒนธรรมไทย, 11(7), 29-32.
วีรี เกวลกุล. (2546). การศึกษาศัพท์ภาษาสันสกฤตในนันโทปนันทสูตรคำหลวง. รายงานการค้นคว้าเฉพาะบุคคลศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2534). คำหลวง. ใน วรรณวิทยา (หน้า 81-90). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในวาระการเกษียณอายุราชการ)
สิริชญา คอนกรีต. (2550). วาทศิลป์ในนันโทปนันทสูตรคำหลวง. สารมนุษยศาสตร์, 3(1), 29-41.
สุพรรณี ปิ่นทอง. (2552). แปลได้ แปลดี: ทักษะการแปลสำหรับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (จัดพิมพ์เนื่องในการเฉลิมฉลองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
อรอนงค์ พัดพาดี. (2521). พระนิพนธ์ประเภทคำหลวงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Williams, M. M. (2011). A Sanskrit-English dictionary (reprinted 16th). Delhi: Motilal Banarsidass.