การฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนาทักษะการพูดเสนอข้อโต้แย้งเป็นภาษาเยอรมันของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาในการพูดเสนอข้อโต้แย้งเป็นภาษาเยอรมันและศึกษาหาแนวทางหรือรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาทักษะการพูดเสนอข้อโต้แย้งเป็นภาษาเยอรมัน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการพูดเสนอข้อโต้แย้งเป็นภาษาเยอรมันของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีความรู้ระดับ A2 เป็นต้นไปข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการฝึกฝนทักษะการพูดเสนอข้อโต้แย้ง โดยใช้ Fünf-Satz-Methode (วิธีการ 5 ประโยค) ของนักศึกษาผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า Fünf-Satz-Methode (วิธีการ 5 ประโยค) สามารถพัฒนาทักษะการพูดเสนอข้อโต้แย้งได้ โดยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการประเมินแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งวิเคราะห์จากพัฒนาการในการทำแบบฝึกฝนทักษะการพูดเสนอข้อโต้แย้งโดยใช้วิธี Fünf-Satz-Methode (วิธี 5 ประโยค) 10 ครั้ง จากการวิจัยยังพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยมีปัญหาในการพูดเสนอข้อโต้แย้งเป็นภาษาเยอรมัน 4 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) โครงสร้างในการพูดเสนอข้อโต้แย้ง 2) การหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้ง 3) การหาตัวอย่างหรือหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือ และ 4) โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาเยอรมันที่ไม่ถูกต้องทำให้สื่อความหมายได้ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งหวังว่าผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทยต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร