การศึกษาเปรียบเทียบสุภาษิตในหนังสือประมวลระดับคำศัพท์และอักษรจีน ประมวลมาตรฐานการสอบวัดระดับภาษาจีนและมาตรฐานความรู้ภาษาจีน

Main Article Content

สุพิชญา อ่ำคิด, พิสิษฐพัฒน์ ปัญญาเร็ว ทองเปลว และบุญธิญา รักสวน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจจำนวนและเปรียบเทียบสุภาษิตที่ปรากฏในหนังสือประมวลระดับคำศัพท์และอักษรจีน ประมวลมาตรฐานการสอบวัดระดับภาษาจีนและมาตรฐานความรู้ภาษาจีน 2) เพื่อศึกษาลักษณะเด่นของสุภาษิตที่ปรากฏซ้ำในหนังสือประมวลระดับคำศัพท์และอักษรจีน ประมวลมาตรฐานการสอบวัดระดับภาษาจีนและมาตรฐานความรู้ภาษาจีน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Document Research) โดยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สุภาษิตจากหนังสือจำนวน 3 ชุด ได้แก่ หนังสือประมวลระดับคำศัพท์และอักษรจีนสำหรับการทดสอบวัดระดับภาษาจีน หนังสือประมวลมาตรฐานการสอบวัดระดับภาษาจีนรูปแบบใหม่ (HSK1-6) และหนังสือมาตรฐานความรู้ภาษาจีน การสอนภาษาจีนระดับนานาชาติ


ผลการศึกษาพบว่า 1) จำนวนสุภาษิตที่ปรากฏในหนังสือทั้งสามชุดเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ มาตรฐานความรู้ภาษาจีน (353 สุภาษิต) ประมวลระดับคำศัพท์และอักษรจีน (135 สุภาษิต)  และประมวลมาตรฐานการสอบวัดระดับภาษาจีน (113 สุภาษิต) ตามลำดับ ผู้วิจัยคิดว่า สาเหตุที่มีการปรากฏของสุภาษิตจำนวนมากในมาตรฐานความรู้ภาษาจีนซึ่งเป็นมาตรฐานจัดระดับภาษาจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น มาจากจำนวนรวมของคำศัพท์ทั้งหมดในตารางคำศัพท์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับเป้าหมายของมาตรฐานฉบับใหม่ คือ การยกระดับมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบภาษาจีนให้สูงขึ้น จากการเปรียบเทียบสุภาษิตที่ปรากฏในหนังสือแต่ละชุดพบว่า สุภาษิตที่ปรากฏซ้ำในหนังสือทั้ง 3 ชุดมีจำนวนทั้งสิ้น 42 สุภาษิต ผู้วิจัยเห็นว่า การปรากฏซ้ำของสุภาษิตเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการเรียนรู้สุภาษิตเฉพาะกลุ่มที่มีโอกาสพบบ่อยเมื่อสื่อสารกับเจ้าของภาษา ผู้เรียนภาษาจีนชาวต่างชาติควรเรียนรู้ความหมายและการนำไปใช้อย่างถูกต้อง      2) ลักษณะเด่นของสุภาษิตทั้ง 42 สุภาษิต พบว่า ทั้งด้านความสมมาตรของเสียงวรรณยุกต์ ความสมมาตรของความหมาย และความหมายเชิงอารมณ์ความรู้สึกของสุภาษิตกลุ่มนี้ สอดคล้องกับผลการศึกษาเกี่ยวกับสุภาษิตจีนในขอบเขตการศึกษาภายในประเทศจีน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หากผู้เรียนชาวต่างชาติได้เรียนรู้สุภาษิตทั้ง 42 สุภาษิตนี้ จะทำให้ตนเองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเด่นของสุภาษิตจีนมากยิ่งขึ้น สำหรับด้านความสัมพันธ์ระหว่างสุภาษิตกับตัวชี้วัดเชิงปริมาณในมาตรฐานความรู้ภาษาจีน ผลการศึกษาพบว่า พยางค์ อักษรจีนและคำศัพท์ส่วนใหญ่ที่ใช้ประกอบสุภาษิตนั้นจัดอยู่ในระดับ 6 ลงมา มีเพียงส่วนน้อยที่จัดอยู่ในระดับ 7-9 อีกทั้งอักษรบางตัว เช่น    “以” “所” “而” เป็นต้น ยังปรากฏคำอธิบายในตารางไวยากรณ์ด้วย ผลการวิจัยข้างต้น สามารถนำไปใช้ในการออกแบบหนังสือ ตำรา และบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชาสำนวนและสุภาษิตจีน เช่น การนำลักษณะเด่นของสุภาษิตจีนด้านใดด้านหนึ่งมาเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับสุภาษิตจีน การเรียบเรียงสุภาษิตโดยกำหนดหมวดนำจากตัวอักษรจีนที่ปรากฏในการประกอบสุภาษิต 42 สุภาษิต เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพงษ์ วงษ์อำไพ. (2564). จังหวะการพูดภาษาไทยของผู้พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่

ตามแนวคิดแบบ จารีตกับแนวคิดแบบจำลองการเกาะกลุ่มภาษา. วารสารมนุษศาสตร์

วิชาการ, 28(1), 1-38.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2563). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมสาส์น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/index.php

เรณุกา สิทธิตถะวงศ์. (2559). การใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบ “สุนัข” กับ “คน” ในภาษาไทยและ

ภาษาจีน. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 159-167.

สุพิชญา อ่ำคิด. (2564). การศึกษาและวิเคราะห์มาตรฐานการแบ่งระดับความสามารถทางภาษาจีน

ในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ. การประชุมวิชาการระดับชาติ สรรพศาสตร์ สรรพศิลป์

ประจำปี 2564. (น. 611- 629). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพิชญา อ่ำคิด.(2565). การศึกษาตัวชี้วัดเชิงปริมาณ มาตรฐานการจัดระดับความสามารถภาษาจีน

ในการศึกษาภาษาจีนนานาชาติผ่านมุมมองมาตรฐานสี่มิติ. วารสารวิชาการ คณะ

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 9(1), 30-44.

อาริสา หาวรดิษ. (2564). ลักษณะสุภาษิตที่ปรากฏคำว่า “เรียน” ในสุภาษิตจีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14(1), 23-42.

Chen Caiyi. (2008). The Rhythm and Types of English Poetry. Sichuan: Sichuan

people's Press.

Examination Center of the National Chinese Proficiency Test Committee. (2001). A

Syllabus of Vocabulary and Character Levels for Chinese Language

Proficiency (Revised Edition). Beijing: Economy Science Press.

Center for Language Education and Cooperation. (2021). Chinese Proficiency Grading

Standards for International Chinese Language Education. Beijing: Beijing

Language and Culture University Press.

Confucius Institute (Hanban). (2010). New HSK Chinese Proficiency Test Syllabus

Level 1-6. Beijing: The Commercial Press.

Li Bujun. (2020). Study on Idiom Selection in Compiling of Comprehensive Chinese

Textbooks Based on Analysis of High-frequency Idioms. Overseas Chinese

Education, (3), 20-26.

Li Hongyin. (2005). Analysis of Chinese Idioms in Syllabus of Graded Words and

Characters for Chinese Proficiency. Applied Linguistics, (4), 73-79.

Liu Zhenqian. (2000). The Semantic Symmetrical Features of four-Character Idioms

in Chinese and their Effects on Cognition. Chinese Teaching in the World, (1), 77-81.

Liu Zhenqian. (2004). Symmetrical Features of Ping-ze Arrangement in Four-

character Chinese Idioms and Cognition. Journal of Shandong University (Philosophy and Social Sciences), (4), 44-51.

Lyu He. (2012). A Comparative Study of New and Old HSK Syllabuses. Heilongjiang

Social Sciences, (4), 134-136.

Luo Yu, Li Ying. (2017). A Research of the Rationality of Chinese Four-character

Idioms in Graded Chinese Syllables, Characters and Words——Based on the

Quantity Analysis of Three Corpora. Journal of Guangdong University of

Education, 37(6), 75-81.

Lexicographical Center of Commercial Press. (2002). Xinhua Idiom Dictionary. Beijing:

The Commercial Press.

Song Yongpei, Duanmu Liming. (2001). Hanyu Chengyu Cidian (Revised edition).

Sichuan: Sichuan Lexicographical Press.

The Dictionary Department of the Institute of Linguistics of the Chinese Academy of

Social Sciences. (2016). Contemporary Chinese Dictionary (7th Edition). Beijing: The Commercial Press.

Wu Huiying. (1995). Structural Harmony in Quadrasyllabics. Xiuci Xuexi, (1), 21-22.

Wu Yongyi. (2021). The responsibilities of native Chinese speakers ——The

significance of the formulation of Chinese Proficiency Grading Standards for

International Chinese Language Education. Journal of International Chinese

Teaching, (1), 18-20.

Yan Xiangru, Chen Aihui. (2017). A Study of the interpretation of idioms in A

Contemporary Chinese-Thai Dictionary. Journal of Yunnan Normal University

(Teaching and Research on Chinese as A Foreign Language), 15(3), 8-20.

Zhai Yinghua. (2011). New Progress in the Development of Vocabulary Table on Chinese as a foreign language ——A Brief Review of Vocabulary in The Graded Chinese Syllables Characters and Words. Journal of Jianghan University (Humanities Science Edition), 30(6), 46-50.