ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการทำงานล่ามประสานงานกีฬา จีน-ไทย และไทย-จีน

Main Article Content

ศัลยา เอ้งฉ้วน และ กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการทำงานล่ามประสานงานกีฬาจีน-ไทย ไทย-จีน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่มีประสบการณ์ทำหน้าที่ล่ามประสานงานกีฬาจีน-ไทย ไทย-จีน วิเคราะห์ตามทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่พบในการทำงานล่ามประสานงานกีฬาจีน-ไทย และไทย-จีน ประกอบด้วย 1) ปัญหาศัพท์เฉพาะ ซึ่งครอบคลุมถึงศัพท์อุปกรณ์กีฬา ศัพท์กติกาการแข่งขัน ศัพท์เฉพาะสารต้องห้ามทางกีฬา รายชื่อยาที่เป็นส่วนประกอบของสารต้องห้าม ศัพท์เฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา สรีรวิทยาการกีฬา หรือศัพท์เฉพาะที่ใช้ในทางการแพทย์ 2) ปัญหาระดับภาษา สถานการณ์ในการสื่อสารของล่ามประสานงานกีฬาส่วนใหญ่ไม่เป็นพิธีการ ระดับภาษาที่ใช้เป็นภาษาทั่วไป 3) ปัญหาสำเนียงถิ่น สำนวนภาษาที่ใช้แตกต่างกัน 4) ปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของเจ้าหน้าที่ชาวไทย 5) ปัญหาประเด็นอ่อนไหวทางการเมืองระหว่างประเทศ และ 6) ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาขาดแคลนล่ามประสานงานกีฬา ปัญหาค่าตอบแทน ปัญหาความไม่แน่นอนของเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ และปัญหาล่ามประพฤติตัวไม่เหมาะสมในการทำงาน


          จากปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการทำงานล่ามประสานงานกีฬาจีน-ไทย ไทย-จีน ดังนี้ 1) ล่ามควรมีนิสัยรักการอ่าน แสวงหาความรู้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาจีน การมีความรู้ทั่วไปจะทำให้เราแปลได้ดีขึ้น และควรหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกีฬาด้วย 2) ล่ามควรฝึกทักษะการฟังบ่อย ๆ ฝึกแปลพูดเป็นระยะ และควรสรุปการแปลของตัวเองหลังจากเสร็จภารกิจ 3) สมาคมกีฬาที่รับผิดชอบควรนำประเด็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมเพิ่มในหลักสูตรการอบรมก่อนปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับเจ้าหน้าที่แต่ละฝ่าย 4) ล่ามควรเป็นกลาง ไม่ออกความคิดเห็น หรือ แสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกว่าตนฝักใฝ่ฝ่ายใด และล่ามควรควบคุมและปรับสถานการณ์ให้อยู่ในสภาวะปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร นุ่มทอง. (2563). ภาษาจีนเพื่อการล่ามในธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

สาขาวิชาภาษาจีน, ภาควิชาภาษาตะวันออก, คณะมนุษยศาสตร์.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2564). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565-2570. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.

กรพิม วุฒิพงศ์ และ หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์. (2559). ลักษณะการทำงานและบทบาทของล่ามใน

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ. วารสารการล่าม และการแปล, 1(2), 18-60.

ชญษร สุจริยาศัย และหนึ่งฤทัย แรงผลสัมฤทธิ์. (2561). ลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการ

ล่ามทาง โทรศัพท์ในบริบทตำรวจท่องเที่ยว. วารสารการล่าม และการแปล, 3(1), 49-77.

ธารทิพย์ แก้วทิพย์. (2545). การแปลแบบล่าม: แนวคิดเชิงทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ.

วารสารศิลปศาสตร์, 2(1), 26-41.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2558). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1977).

(พิมพ์ครั้งที่ 32).

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2547). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับงานบริการ. วารสาร

มนุษยศาสตร์, 12, 90-91.

นพพร ประชากุล, จิระพรรษ์ บุณยเกียรติ, สดชื่น ชัยประสาธน์, สุมาลี วีระวงศ์ และวัลยา เรืองสุนทร.

(2540). ศาสตร์การแปล รวมบทความเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โครงการศูนย์การแปลคณะศิลปศาสตร์.

บุญชู ตันติรัตนสุนทร. (2552). ล่ามอาชีพ. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.

ปัญญา นาวงษ์. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพล่ามภาษาอาหรับด้านการท่องเที่ยว

เชิงการแพทย์ในประเทศไทย. วารสารอิสลามศึกษา, 8(1), 18-34.

ปัญญา บริสุทธิ์. (2533). ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

พาน เหล่ย และกนกพร นุ่มทอง. (2564). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการล่ามไทย-จีน

ในชั้นศาล. วารสารภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม, 10(2), 80-110.

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สยามสปอร์ต. (2542). "ชาเลนจ์" ระบบใหม่ของลูกยางโลก. สืบค้นจาก https://www.siamsport.co.th/column/detail/29227.

สาลินี มณีรัตน์. (2559). ความสำคัญของการล่ามทางทหารและบทบาทของนายทหารที่มีต่อภารกิจ

ของกองบัญชาการกองทัพไทย. วารสารการล่าม และการแปล, 1(1), 78-106.

สินธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การประเมินการจัดการคุณภาพบริการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิง

กีฬาในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 20, 117-126.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2552). การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4).

สนสร้อย เทพัฒนพงศ์ และหนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์. (2561). ความแตกต่างทางวัฒนธรรมยุโรป

และวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการทำล่ามในบริบทของงานสถานทูต. วารสารการล่าม และการแปล, 3(2), 198-237.

สมพงษ์ ชาตะวิถี. (2554). ประสบการณ์จากการแข่งขัน 1st Youth Olympic Games ปี 2553

(สาธารณรัฐสิงคโปร์). วารสารวิชาการ สถาบันพลศึกษา, 3(1), 1-10.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก

https://dictionary.orst.go.th/

เอลิสา นิชิโคโตะ. (2560). การวิเคราะห์การทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์และล่ามทางการแพทย์

ศึกษาจากการจำลองสถานการณ์ตรวจคนไข้โดยใช้ล่ามญี่ปุ่น-ไทย. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 7(3), 186-203.

何元元. (2010). 从运动心理学看口译员的心理素质要求与训练. 广州公安管理干

部学院学报, (2), 58-60.

岳峰、耿良凤. (2016). 译员的主体性与“超语言”因素 : 体育赛事随同口译案

例分析. 贵州大学 (社会科学版), 34(5), 137-142.