กลวิธีการใช้ภาษาในข้อความโฆษณาตามวัตถุประสงค์ของ แบรนด์สินค้ารัสเซีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาและกลวิธีการใช้ภาษาในข้อความโฆษณาตามวัตถุประสงค์ของแบรนด์สินค้ารัสเซีย โดยใช้กรอบแนวคิดที่เกี่ยวกับประเภทของข้อความโฆษณาและแนวคิดเกี่ยวกับโวหารภาพพจน์โดย Rozental (2001) จากเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางในการศึกษา โดยเลือกเก็บตัวอย่างเนื้อหาข้อความโฆษณาแบรนด์สินค้าที่ปรากฏบนหน้าหลักเว็บไซต์ทางการของแบรนด์สินค้า ซึ่งเป็นการเลือกเก็บข้อมูลแบบสุ่ม โดยการใช้เว็บไซต์กูเกิล และยานเด็กซ์เป็นเครื่องมือในการเลือกเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ข้อความโฆษณาของสินค้ารัสเซียสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามวัตถุประสงค์ 1) ข้อความโฆษณาเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร กลวิธีการใช้ภาษาที่พบ คือ การให้ฉายาหรือการให้คุณลักษณะ อุปมา บุคลาธิษฐาน 2) ข้อความโฆษณาเพื่อชักจูงใจ กลวิธีการใช้ภาษาที่พบ คือ การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ การซ้ำคำ บุคลาธิษฐาน อุปลักษณ์ นามนัย อวพจน์ และ 3) ข้อความโฆษณาเพื่อย้ำเตือน กลวิธีการใช้ภาษาที่พบ คือ การให้ฉายาหรือการให้คุณลักษณะ และบุคลาธิษฐาน โดยวัตถุประสงค์ของข้อความโฆษณา คือ ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดการใช้โวหารภาพพจน์ และข้อความโฆษณาเพื่อชักจูงใจสามารถพบการใช้กลวิธีการต่างๆทางภาษาได้มากกว่า และถี่กว่าข้อความโฆษณาประเภทอื่นๆ ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนและผู้สอนภาษารัสเซียทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์โวหารในงานพันธ์ประเภทต่างๆ และนำไปใช้ประกอบการเขียนภาษารัสเซียให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้โครงสร้างไวยากรณ์ ศัพท์ สำนวนและภาพพจน์โวหารที่ถูกต้องและเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
ธารีรัตน์ มูลเครือคำ. (2560). การวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ที่ใช้ในพาดหัวโฆษณารถยนต์ทาง
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). ความต่างระหว่างโฆษณาแบบ Informative และ Persuasive
Advertising. สืบค้นจาก https://www.popticles.com/marketing/difference-between-informative-and-persuasive-advertising/
ปุ่น ชมภูพระ, ปพิชญา พรหมกันธา, และ พัทธนันท์ พาป้อ. (2564). กลวิธีการใช้ภาษาในบทเพลง
เพื่อชีวิตของ “พงษ์สิทธิ์ คำภีร์”. ใน พระครูสิริสุตานุยุต (บ.ก.). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”. (487-502). ลำพูน: วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ยงยุทธ ฟูพงศ์ศิริพันธ์. (ม.ป.ป.). ประเภทของการโฆษณา. วันที่สืบค้น 11 มิถุนายน 2565, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/unit7/Subm1/U713-1.htm
Bovee, Courtland L., Houston, Michael J. & Thill, John V. (1995). Marketing. 2nd ed.
New York: McGraw-Hill.
Burton, P.W. (1999). Advertising copywriting. (7th ed.). Illinois: NTC Business Book.
Jalilifar, A. (2010). The rhetoric of Persian and English advertisements. The
International Journal of Language Society and Culture, 30, 25-39.
Taylor, R. (1978). How to start and succeed in a business of your own. Reston,
Virginia: Reston Publishing Company.
Tom, G., & Eves, A. (1999). The use of rhetorical devices in advertising. Journal of
Advertising Research, 39(4), 39-43.
Анисимова, Е.Г. (2021). Межкультурная коммуникация и специфика перевода
рекламных текстов в сфере индустрии моды. (Опубликована дипломная работа бакалавра). ИТМО, Санкт-Петербург
Дзахмышева, В.Д. (2016). Языковые средства создания экспрессивности в
современной рекламе. Белгородский государственный университет, Белгород
Розенталь Д.Е., Кохтев Н.Н. (1981). Язык рекламных текстов: учеб. Пособие для
вузов. Москва: Высшая школа.
Розенталь, Д.Э. (2001). Справочник по русскому языку. Практическая
стилистика. Москва: ОНИКС 21 век.