การศึกษาปัญหาการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

วรัตธนันท์ รักษ์วิเชียร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาปัญหาการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ (2) เพื่อศึกษาคำที่มีจำนวนพยางค์ต่างกันตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไปจนถึงสี่พยางค์ที่นักศึกษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้องมากที่สุดและออกเสียงผิดมากที่สุด  กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงผู้ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ENG 2101 การออกเสียงภาษาอังกฤษ (English Pronunciation) ของภาค 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน โดยนักศึกษาได้ทำแบบทดสอบ pretest ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 20 คำ และส่วนที่เป็นคำภาษาอังกฤษดังกล่าวเมื่ออยู่ในประโยครวม 20 ประโยค ผ่านทาง Google Forms และบันทึกวีดิทัศน์การออกเสียงแบบทดสอบ pretest ทั้งสองส่วนส่งให้ผู้วิจัยเพื่อตรวจเก็บคะแนน หลังจากทำแบบทดสอบ pretest ส่งให้ผู้วิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้ส่งคลิปวิดีทัศน์การออกเสียงภาษาอังกฤษของแบบทดสอบ pretest โดยอาจารย์เจ้าของภาษา ให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการออกเสียงจนครบ 5 ชั่วโมง หลังจากที่นักศึกษาได้ฝึกออกเสียงตามสำเนียงอาจารย์เจ้าของภาษาแล้ว ผู้วิจัยขอให้นักศึกษาบันทึกวิดีทัศน์การออกเสียง พร้อมกับทำแบบทดสอบอีกครั้งเป็นแบบทดสอบ posttest ผ่านทาง Google Forms ส่งให้ผู้วิจัยเพื่อตรวจเก็บคะแนนเปรียบเทียบกับการทำแบบทดสอบ pretest ในครั้งแรก และเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยสถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ Paired Sample  T-Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าแบบทดสอบที่เป็นวีดิทัศน์      การออกเสียงของอาจารย์เจ้าของภาษามีผลต่อพัฒนาการด้านความแม่นยำในการออกเสียงเน้นหนักในภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการวิจัย นักศึกษาที่ได้ฝึกฝนการออกเสียงภาษาอังกฤษกับวีดิทัศน์การออกเสียงของอาจารย์เจ้าของภาษามีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่าก่อนการฝึกฝน 2) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาสามารถออกเสียงเน้นหนักในคำสองพยางค์ได้มากที่สุดแต่ก็มีคำสองพยางค์ “take off”  ที่นักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องน้อยกว่าร้อยละ 50 ในแบบทดสอบ pretest ส่วนที่ 1 pretest ส่วนที่ 2 และใน posttest ส่วนที่ 2 คำที่นักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องน้อยที่สุดใน pretest และ posttest ทั้งสองส่วน คือคำสามพยางค์  “employee”  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มคำที่นักศึกษาออกเสียงได้น้อยกว่าร้อยละ 50 มีคำสี่พยางค์ที่นักศึกษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้องเป็นจำนวนมากกว่าคำสามพยางค์ ได้แก่คำสี่พยางค์ “duality”, “biology”, “politician” และ “appreciate” ซึ่งนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องมากกว่าคำสามพยางค์ “employee”  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คัมภีรภาพ คงสำรวย, ไพโรจน์ บัวสุข, เสงี่ยม ศิริสวัสดิ์, ศักดิพงษ์ โสภาจร และสมควร ข่าสะโปน.

(2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 15(1), 143-154.

ธนนท์รัฐ นาคทั่ง, สุทธิรักษ์ สุวรรณเดชา และชนาภา ตรีวรรณกุล. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนระบบเสียงและสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับ ทัศนคติและความสามารถทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้สูงขึ้น. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี.

นันทนา สิทธิรักษ์ และสุทธิดา พรจำเริญ. (2552). การสำรวจการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบ

อังกฤษและภาษาอังกฤษแบบอเมริกันของนักศึกษาไทย. วารสารสงขลานครินทร์, 15(2), 559-576.

เบญจพร มีพร้อม จันทร์คล้าย. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่

นักศึกษามักออกเสียงผิดในการเรียนสนทนาภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ปริชาติ สุทธิเจษฎาโรจน์. (2556). การตัดสินการพูดภาษาอังกฤษของผู้พูดชาวไทยโดยเจ้าของภาษา. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 31(2), 72-90.

มยุรี ทองดี. (2559). การศึกษาบทเรียนจังหวะเสียงภาษาอังกฤษในการพัฒนาการออกเสียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศิรินภา พรหมคำ และณัฐชยา หุมนา. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น ตำบลดงมูลเหล็ก จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, สถาบันวิจัยและพัฒนา.

ศิรินภา พรหมคำ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางภาษาศาสตร์ในการสอนเน้นเสียงพยางค์ ภาษาอังกฤษในระดับคำ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, สถาบันวิจัยและพัฒนา.

อัญฑิการ์ โรงสะอาด. (2545). การศึกษาเจตคติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเรื่องการตอบคำถามครูผู้สอนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ. วารสารภาษาปริทัศน์, 20, 1-26.

Braun, B., Lemhofer, K., & Mani, N. (2011). Perceiving unstressed vowels in foreign-accented English. Journal of the Acoustical Society of America, 129, 376-387.

Kaiser, D. (2015). Practical approaches and strategies for teaching stress-timed English rhythm. Retrieved January 22, 2020, from

https://www.academia.edu/18621225/Kaiser_D._2015_._Practical_approaches_and_strategies_for_teaching_stress-timed_English_rhythm._In_The_ Conference_Proceedings_of_MIDTESOL_Cultivating_Best_Practices_in_ESL_2013_and_2014_pp._71-90_._Peer-reviewed_article_

Kang, O., Moran, M., & Vo, S. (2016). Perceptual judgments of accented speech by listeners from different first language backgrounds. Retrieved January 22, 2020, from http://www.tesl-ej.org/wordpress/ issues/volume20/ej77/ej77a1/

Khamkhien, A. (2010). Thai learners’ English pronunciation competence: Lesson learned from word stress assignment. Journal of Language Teaching and Research, 6, 757-764.

Nantaporn Plaitho. (20100. Perspectives on communication problems in air travel interactions of Air Asia’s flight attendants. Unpublished Master of Art, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Bangkok.

Nemati, A., Qareqani, K., & Fumani, M. R. F. Q. (2016). The Investigation of listening comprehension problems of American Accent for Iranian B.A students of translation studies. Retrieved January 22, 2020, from https://www.researchgate.net/profile/Mohammad_Reza_Falahati_Qadimi_Fumani2/publication/309512376_The_Investigation_of_listening_comprehension_problems_of_American_Accent_for_Iranian_BA_students_of_translation_studies/links/58143afb08aedc7d8961fb38/The-Investigation-of-listening-comprehension-problems-of-American-Accent-for-Iranian-BA-students-of-translation-studies.pdf

Onnicha Geeratayaporn. (2010). Word stress problems: A case study of Thai undergraduate students at Sripatum University majoring in English Business Communication. Master’s Degree of Arts, Kasetsart University.

Reed, M., & Levis, J. M. (Eds.). (2015). The handbook of English pronunciation. Malden, MA: Wiley Blackwell.

Scales, J., Wennerstrom, A., Richard, D., & Wu, S. H. (2012). Language learners’ perceptions of accent. Tesol Quarterly, 40(4), 715-738.