การสร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอย ท่องเที่ยววิถีชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอยท่องเที่ยววิถีชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเภทของเนื้อหาที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอยท่องเที่ยววิถีชุมชน และ 2) กลวิธีในการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ: ตลาดมดตะนอยท่องเที่ยววิถีชุมชน เป็นการวิจัยแบบ Multi method research ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เอกสารควบคู่กับสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 2 คน
ผลการวิเคราะห์ประเภทของเนื้อหาฯ พบว่า จัดกลุ่มประเภทเนื้อหาได้ 4 ประเภท คือ มุ่งแจ้งเพื่อทราบ มุ่งให้ความบันเทิง มุ่งชี้แนะเพื่อการตัดสินใจ และมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ โดยเนื้อหา มุ่งแจ้งเพื่อทราบ ปรากฏการนำเสนอมากที่สุด คือ ร้อยละ 70.45 รองลงมา คือ มุ่งให้ความบันเทิง ร้อยละ 12.34 มุ่งชี้แนะเพื่อการตัดสินใจ ร้อยละ 10.36 และมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 6.83 ตามลำดับ
ผลการวิเคราะห์กลวิธีในการสร้างสรรค์เนื้อหาฯ พบว่า 1) การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย มุ่งใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการ ระดับกันเอง/ภาษาปาก เพื่อนำเสนอเนื้อหามุ่งแจ้งเพื่อทราบ มุ่งให้ความบันเทิง และมุ่งชี้แนะเพื่อการตัดสินใจ ส่วนภาษาแบบไม่เป็นทางการ ระดับสนทนา เพื่อนำเสนอเนื้อหามุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ 2) การนำเสนอภาพเพื่อสื่อความหมาย นำเสนอภาพนิ่งเพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนในชุมชนและกิจกรรมท่องเที่ยวประกอบกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว เพื่อถ่ายทอดความสมจริง และสร้างอารมณ์ร่วม 3) กลวิธีในการสร้างปฏิสัมพันธ์ ใช้ทุกเครื่องมือที่ให้บริการบนเฟซบุ๊ก สร้างปฏิสัมพันธ์ และกระจายเนื้อหาไปสู่การรับรู้ในวงกว้าง และ 4) เทคนิคพิเศษ ใช้โปรแกรมกราฟิกนำเสนอข้อความ และภาพนิ่งที่รับชมได้ 360 องศา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2543). ภาษากับการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนพัฒน์ ชิตโสภณดิลก. (2558). การวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Goal Thailand ที่มีผลต่อการเข้าชมเว็บไซต์ Goal.com/th/. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐภณ กิตติทนนท์ชัย. (2558). การวิเคราะห์เนื้อหาสารและการตอบสนองบนเพจเฟซบุ๊กเว็บท่องเที่ยว กรณีศึกษาเพจเฟซบุ๊กเว็บ Chillpainai. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1). 31-50.
บุปผา บุญทิพย์. (2547). หลักการใช้คำเพื่อการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7, (น. 101-142). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บัวผิน โตทรัพย์, พวงเพ็ญ ชูรินทร์, จิตติมา จ้อยเจือ และอโศก ศรีสวัสดิ์. (2562). การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาชุมชนพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 13(2). 190-220.
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์, (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. Executive Journal, 31(4).
-103.
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social media. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
รสริน ดิษฐบรรจง. (2564). การวิเคราะห์เนื้อหาและกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(3). 36-53.
วิกานดา พรสกุลวานิช. (2562). สื่อใหม่และการจัดการการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แวอาซีซะห์ ดาหะยี. (2553). ศิลปะการใช้ภาษาเพื่องานนิเทศศาสตร์. ยะลา: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วุฒิ อำพันธ์. (2559). สื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8-9 ธันวาคม 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 1118-1127.
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2565). รู้จักการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT). สืบค้นจาก https://cbtyouth.wordpress.com/cbt-youth/cbt/. (17 เมษายน 2565)
สมพร เกื้อไข่, วิทยาธร ท่อแก้ว และธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร. (2565). การสื่อสารเพื่อการจัดการ
การท่องเที่ยวโดยชุมชนตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 15(2). 1-11.
อนพัทย์ หนองคู. (2563). พฤติกรรมและปัจจัยด้านสื่อดิจิทัลทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่สวนดุสิต. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2). 1-15.
อวยพร พานิช, อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต, อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และไศลทิพย์ จารุภูมิ. (2553). ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฌิชา ทิวะสิงห์, พิมพิกา ทองรมย์, พิมอร แก้วแดง, ฐิญาภา เสถียรคมสรไกร และพนัส สืบยุบล. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยว และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(3). 100-107.
Kasirye. F. (2021). An Overview of Mixed and Muti Method Research. [Online]. Available:https://advance.sagepub.com/articles/preprint/An_Overview_of_Mixed_and_Multi_Method_Research/14681643. [Access 1 January 2023].