วรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์: การแปรตามอายุ

Main Article Content

ตามใจ อวิรุทธิโยธิน, ชลภัสสรณ์ บินอิบรอฮีม, มัณฑนา เทียมทัด และ บวรรัตน์ ลาวัณย์เลิศสกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาและเปรียบเทียบค่าความถี่มูลฐาน (fundamental frequency) ของเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยอายุ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้ที่อาศัยอยู่ใน 8 อำเภอ ได้แก่ หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี เมือง ทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย ผู้ให้ข้อมูลเพศชายแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ประกอบด้วย วัยรุ่นและผู้สูงอายุ รวม 96 คน ทุกคนออกเสียงคำที่ต้องการในกรอบประโยคที่กำหนดไว้ รายการคำทดสอบกำหนดตามแนวคิดกล่องวรรณยุกต์ คำตัวอย่าง 5,760 คำ ในงานวิจัยนี้วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม พราต (Praat) ผลการวิจัยพบว่าระบบวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์ที่ออกเสียงโดยกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือมีสองระบบเหมือนกัน ได้แก่ ระบบที่หนึ่งมีจำนวน 5 หน่วยเสียง สอดคล้องกับวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นกลาง ระบบที่สองมีจำนวน 4 หน่วยเสียง เป็นวรรณยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นใต้ ข้อค้นพบในครั้งนี้ช่วยให้ตีความได้ว่าปัจจัยอายุไม่ได้ส่งผลต่อการออกเสียงวรรณยุกต์ของผู้พูดภาษาไทยถิ่นประจวบคีรีขันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศมณี เทพวัลย์. (2526). แนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้โดยใช้ระบบวรรณยุกต์เป็นเกณฑ์. กรุงเทพมหานคร.ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัณย์ชนิต บัณฑิตกุล. (2536). วรรณยุกต์ในคำพยางค์เดียวและคำสองพยางค์ในภาษาไทยถิ่นกลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพมหานคร. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รพีพร สิทธิ. (2549). การแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นโคราชตามรุ่นอายุและความสะดวกของการคมนาคม. กรุงเทพมหานคร. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรืองสุข คงทอง. (2549). แนวแบ่งเขตระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้: การแปรของวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุ. กรุงเทพมหานคร. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณพร ทองมาก. (2526). แนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้โดยใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์. กรุงเทพมหานคร. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาวรรณ ถิ่นจันทร์. (2558). การแปรเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นในจังหวัดแพร่. กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภกิต บัวขาว. (2561). การแปรของวรรณยุกต์ภาษาเลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 35(2) 304 – 330.

เอกพล กันทอง. (2550). การแปรของวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นเชียงใหม่ตามกลุ่มอายุ. กรุงเทพมหานคร. อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gedney. W. J. 1973. A checklist for determining tones in Tai dialects. In M. Estelle Smith (ed). Studies in Linguistics in Honor of George L. Trager. The Hague: Mouton. 423-437.