วิเคราะห์กลวิธีการประพันธ์และแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรม ในกวีนิพนธ์ของอิหม่ามชาฟิอีย์

Main Article Content

สมชาย เซ็มมี

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการประพันธ์ รวมถึงแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรมในกวีนิพนธ์ของอิหม่ามชาฟิอีย์ โดยนำเสนอผ่านการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผู้วิจัยรวบรวมกวีนิพนธ์ของอิหม่ามชาฟิอีย์จากหนังสือรวมบทกวีของอิหม่ามชาฟิอีย์“ ดีวานของอิหม่ามชาฟิอีย์ (دِيْوَانُ الْإِمَامِ الشَّافِعِيِّ)” จำนวน 3 เล่ม ผลการศึกษาพบว่า อิหม่ามชาฟิอีย์ใช้ท่วงทำนองในการประพันธ์กวีนิพนธ์ 10 ท่วงทำนอง และเลือกใช้อักษรอัรร่อวีย์เพื่อกำกับฉันทลักษณ์ทั้งหมด19  อักษร ในด้านกลวิธีการประพันธ์พบว่า มีการใช้ภาพพจน์และการเลือกใช้คำในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งด้านการสื่อความหมายที่ทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพที่แฝงอยู่ในความหมายของบทกวีได้อย่างชัดเจน  รวมถึงความสละสลวยของจังหวะทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน ด้านเนื้อหาของกวีนิพนธ์ อิหม่ามชาฟิอีย์ได้สอดแทรกแนวคิดด้านคุณธรรมจริยธรรมที่พึงปฏิบัติต่อตนเอง ครอบครัว ญาติมิตรและสังคมเอาไว้ในเนื้อหาบทกวีอย่างละเมียดละไม ซึ่งส่งผลให้ผู้อ่านได้ตระหนักคิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติสู่การเป็นผู้ที่มีศีลธรรมอันดี รวมถึงมีการสอดแทรกปรัชญาและหลักคำสอนผ่านการนำเสนอที่สะท้อนแนวคิดผ่านมุมมองของปราชญ์ผู้เคร่งครัดในหลักคุณธรรม มุ่งหวังในการสร้างค่านิยมที่ดีให้กับสังคมส่วนรวม อีกทั้งยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มนุษย์เติบโตทั้งสมองและสติปัญญาควบคู่ไปกับคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

بسيوني عبد الفتاح. (۱٩٨٧) .علم البديع. (الطبعة الثانية). مؤسسة المختار.

Bassiouni Abdel Fattah. (1987). Ealam albadiei. (2nd Ed).Muasasat almukhtar.

بشرى صالح. (۱٩٩٤). الصورة الشعرية في النقد العربي الحديث . المركز الثقافي العربي.

Bushra Saleh. (1994). Al-suwrat alshieriyah fi alnaqd alearabii alhadith . Almarkaz althaqafiu alearabia.

دلال كاظم عبيد. (٢٠١٦). القيم التربوية عند الإمام الشافعي من خلال شعره. مجلة البحوث التربوية والنفسية. العدد ٤٩. يونيو ٢٠١٦. ص ٣٦۲-٣٦٣ .

Dalal Kazem Obaid. (2016). Alqiam altarbawiat eindal Imam Al-Shafi’i min khilal shaerihi. Journal of Educational and Psychological Research. Number 49.June 2016. pp. 362-363.

شوقي ضيف .(دت). الفن ومذاهبه في الشعر العربي. القاهرة : دار المعارف.

Shawqi Deif .( n.d.). Alfanu wamadhahibuh fi alshier alearabii. Cairo: Dar Al-Maaref.

شهاب الدين أحمد بن عبد الوهاب النويري. (۲٠٠٤). نهاية الأرب في فنون الأدب. بيروت: دار الكتب العلمية.

Shihab al-Din Ahmed Ibn Abdul Wahhab al-Nuwairi. (2004). Nihayat al'arab fi funun al'adbi. Beirut: Dar Al-kutub Al-eilmiyah.

ضياء الدين بن الأثير. (دت) .المثل السائر في أدب الكاتب والشاعر. دار نهضة مصر للطباعة والنشر.

Dia Al-Din Ibn Al-Atheer. (n.d.). Al-mathal alsayir fi 'adab alkatib walshaaeiri. Dar nahdat misr liltibaeat walnashri.

عبد العزيز عتيق. (١٩٨٥) . علم البيان . دار النهضة العربية : بيروت .

Abdul Aziz Atiq. (1985). Ealam albayan. Beirut: Dar alnahdat alearabiyah.

عمر فروخ .(١٩٨١). تاريخ الأدب العربي. بيروت: دار العلم للملايين.

Omar Farroukh (1981). Tarikh al'adab alearabii. Beirut: Dar Al-Ilm Lilmalayin.

محمّد ابراهِيمِ سُلَيْم .(دت). ديوان الإمام الشافعي المسمي الجوهر النفيس في شعر الإمام محمد بن إدريس.القاهرة : مكتبة ابن سينا.

Muhammad Ibrahim Sulem. (n.d.). Diwan al'imam Al-Shafi'i almusamma aljawhar alnnafis fi shier al'iimam muhammad ibn aidrisa. Cairo: Maktabat ibn sina.

محمد حافظ الشريدة .(۲٠۱۲). الإمام الشافعي شاعرا. المؤتمر العلمي الدولي الرابع : مؤتمر الإمام الشافعي. مايو 2012. غزة: جامعة الأقصى.

Muhammad Hafez al-Shurida. (2012). Al-Imam Al-Shafi’i poet. Fourth International Scientific Conference: Imam Shafi’i Conference. May 2012. Gaza: Al-Aqsa University.

محمّد عبد المنعم خَفاجِيّ . (۱٩٨٥). ديوان الشافعي .(الطبعة الثانية).القاهرة : مكتبة الكليات الأزهرية.

Muhammad Abdul Mun-im Khofajiy (1985). Diwan Al-Shafi'i. (2nd ed.) Cairo: Maktabah Al-kullyat Al-Azhariyah.

محمّد عفيف الزَّعبيُّ. (دت). ديوان الإمام الشافعي. (دم).

Muhammad Afif Assabya. (n.d.). Diwan Al-Imam Al-Shafi'i. (n.p.).

مصطفى عليوي كاظم. (٢٠١٨). جينوم الشعر العمودي والحر. مؤسسة دار الصادق الثقافية.

Mustafa Aliwi Kazem. (2018). Jinum alshier aleamudii walhar. Muasasat Dar alsaadiq althaqafiati.

نازك الملائكة. (١٩٦٥). قضايا الشعر المعاصر. بغداد : مكتبة النهضة.

Nazik al-Malaika. (1965). Gadaya alshier almueasiri. baghdad: maktabat alnahdati.