ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อวิธีการทำงานวิจัยของครูอาจารย์ คณะเทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

Main Article Content

ประวิชญา ณัฏฐากรกุล
จารึก ณัฏฐากรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปัจจัยส่วนบุคคล สถานภาพการทำวิจัย และประสบการณ์การอบรมด้านวิจัยที่ส่งผลเป็นอุปสรรคต่อวิธีการทำงานวิจัย
โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูอาจารย์คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปีการศึกษา 2556 ซึ่งได้มาโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย จำนวน 47 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามอุปสรรคต่อวิธีการทำงานวิจัย และปัจจัยที่ส่งผลเป็นอุปสรรคต่อวิธีการทำงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์หาอิทธิพลของตัวแปรด้วยการถดถอยแบบโลจิสติก               


ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นซึ่งประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล สถานภาพการทำวิจัย และประสบการณ์การอบรมด้านวิจัยส่งผลเป็นอุปสรรคต่อวิธีการทำงานวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การขาดประสบการณ์ทําวิจัยในหลักสูตรที่สําเร็จการศึกษาเป็นอุปสรรคที่มีอิทธิพลต่อวิธีการทำงานวิจัยของครูอาจารย์คณะเทคโนโลยีสังคม ที่หน่วยงานหรือองค์กรควรตระหนัก และเร่งพัฒนาศักยภาพดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ประวิชญา ณัฏฐากรกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

จารึก ณัฏฐากรกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3). กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธรรมนาถ เจริญบุญ และมุทิตา พนาสถิตย์. (2554). การทำวิจัยของจิตแพทย์รุ่นเยาว์:การศึกษาถึงสถานภาพ ประสบการณ์และอุปสรรคต่อการทำวิจัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(2), 189-200.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). การพัฒนาข้อเสนองานวิจัยเพื่อก้าวสู่ตําแหน่งทางวิชาการ. การประชุมเสวนาวิชาการ (วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556) ณ ห้องประชุมกิจจาทร2.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2554). รายงานประจําปี 2554. นครราชสีมา:ศูนย์ปฏิบัติการสื่อสิ่งพิมพ์คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548–2551). มติคณะรัฐมนตรี.11 มกราคม 2548.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2542). การศึกษาความต้องการของบุคลากรฝึ กอบรมเกี่ยวกับความรู้จากฐานงานวิจัยด้านฝึกอบรม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (โสตทัศนศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

College of Nursing, Nursing Policy Research Institute, Yonsei University. (2008). Research activities and perceptions of barriers to research utilization among critical care nurses in Korea. Intensive Crit Care Nurs, 24(5), 314-322.

Magnusson, D. (2001). The holistic-interactionisticparadigm: Some directions for empirical development research. European Psychologist, 6(3) :153-162.

Maslow, A.H. (1962). Toward a psychology of being. NY : Van Nostrand Reinhold Company.