การสํารวจ รวบรวม และศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารพื้นถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

จักรกฤช ศรีละออ
วณิชญา ฉิมนาค
ขนิษฐา ไชยแก้ว
ประหยัด แผนสมบูรณ์
ปุณณดา ทะรังศรี

บทคัดย่อ

การสํารวจ รวบรวม และศึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชอาหารพื้นถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก ได้ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนกันยายน 2558 โดยการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดพิษณุโลกในทุกอำเภอ อำเภอละ 3 คน ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ที่นำมาเป็นอาหารในพื้นที่ชุมชน พื้นที่สวนครัว ตลาดในชุมชน และจากป่าธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการระบุชื่อวิทยาศาสตร์และแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้อง มีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อท้องถิ่น การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์ ลักษณะสัณฐานวิทยาของพืช และนิเวศวิทยาของพืช ผลการศึกษาพบว่ามีพืชที่ใช้เป็นอาหารจำนวน 68 วงศ์ 138 ชนิด ส่วนใหญ่ที่พบเป็นไม้ล้มลุก นอกจากนั้นเป็นไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม พืชน้ำ และเฟิร์น ตามลำดับ ตัวอย่างพืชที่สำรวจได้เก็บตัวอย่างพืชและนำมารักษาไว้ ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยจัดทำคำบรรยายลักษณะ สถานที่พบ ส่วนที่ใช้รับประทาน วิธีการนำมาประกอบอาหาร สภาพนิเวศวิทยา และภาพสีของพืชแต่ละชนิด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จักรกฤช ศรีละออ

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

วณิชญา ฉิมนาค

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ขนิษฐา ไชยแก้ว

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ประหยัด แผนสมบูรณ์

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ปุณณดา ทะรังศรี

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

References

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (2553). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดพิษณุโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phitsanulok.go.th/data.html#. (วันที่ค้นข้อมูล: 14 มกราคม 2559)

จักรกฤช ศรีละออ. (2546). การสำรวจและรวบรวมพรรณผักพื้นบ้านในเขตอำเภอบางระกำ และอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ฉันทนา เวชโอสถศักดา. (2556, มกราคม-เมษายน). การรวบรวมสารสนเทศชื่อผักพื้นบ้านในชุมชนบ้านดอนดู่ ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคราม. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 30(1), 143-164.

ชุติมา สุขสายอ้น. (2557). การสำรวจและรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม และอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ชูศรี ไตรสนธิ และปริทรรศ์ ไตรสนธิ. (2552, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทยกรณีศึกษาในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย. 1(1), 1-23.

ธวัชชัย สันติสุข. (ม.ป.ป.). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 21. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php? book=21& chap=7&page=t21-7-infodetail02.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 24 ธันวาคม 2558)

นฤดี เจริญแก้ว. (2557). การสำรวจและรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม และ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปาจรีย์ อินทะชุบ บดินทร สอนสุภาพ และวินัย สมประสงค์. (2557, กรกฎาคม-กันยายน). ความหลากหลายของผักพื้นบ้านในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารแก่นเกษตร. 42(3), 819-824.

สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน. 2540. ผักพื้นบ้าน : ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สุรชาติ สินวรณ์ และณัฐบดี วิริยาวัฒน์. (2557, มกราคม-เมษายน). ความหลากหลายของสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. 7(1), 1-20.

โสรญา หุ่นทอง. (2557). การสำรวจและรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านในเขตอำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย และ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.