การพัฒนาบรรยากาศในชั้นเรียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนและแรงจูงใจของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ทะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

วิศาธร ทนุกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและ 2) ศึกษาแรงจูงใจในการเรียนการสอนเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม กลุ่มเป้าหมายที่ทำการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ทะ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม จำนวน 5 แผน รวมทั้งหมด 20 คาบ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดแรงจูงใจในการเรียนหลังเรียนโดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังได้รับการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคม อยู่ในระดับปานกลาง
2. แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังได้รับการสอนเขียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิศาธร ทนุกิจ

อาจารย์สาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

กรมวิชาการ.(2554).แนวทางการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จตุพร ตั้งตระกูล.(2544).การใช้กิจกรรมประสบการณ์ทางภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษ ความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาอังกฤษบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนะวัชร จริยะภูมิ และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2558, กันยายน – ธันวาคม).รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในศตวรรธที่ 21.วารสารปัญญาภิวัฒน์.7(3), 292-302.

ธาดา ศรีวิเชียร. (2556). การใช้แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เบญจภรณ์ ศรีจันทร์กาศ.(2550). การบูรณาการแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้และการเรียนแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของ นักเรียนระดับระดับก้าวหน้า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาอังกฤษบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557, พฤษภาคม – มิถุนายน).Active Learning:การจัดการเรียนรู้ในศตวรรธที่ 21.นิตยสารสสวท, 42(188), 3-6.

Bartz, Walter H. (1979).Testing oral communication in the foreign language classroom. 2nded, ArlingtonVa.: Center for Applied Linguistics.

Behar, E., (2012).Reading and Writing: A Study Comparing the Strength of Peer Review and Visible Author Writing Strategies.Winston – Salem, NC: Department of Education, Wake Forest University.

Finocchiaro, M., &Sako, S.(1983).Foreign language testing: A practical approach.New York: Regents.

Huang, Q. (2009).English Reading Base on Social Constructivist Approach. Asian Social Science, 5(7), 174-176.

Singh, R. K., & Sarkar, M. D. (1994).Interactional process approach to teaching writing.Forum, 32(4), 18-23.

Vygotsky, L.S. (1986).Thought and Language (A. Kozulin, Ed. & Trans.).Cambridge,MA: The MIT Press.