ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาในชั้นเรียนคณิตศาสตร์กับระดับความสามารถใน การแก้ปัญหา เมื่อครูสอนด้วยระบบพี่เลี้ยง

Main Article Content

ชาตรี นาคะกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในชั้นเรียนคณิตศาสตร์กับการสอนด้วยระบบพี่เลี้ยง กรณีศึกษาของครูมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ครูทำการสอนโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมรูปการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในห้องเรียนคณิตศาสตร์กับกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนในชั้นเรียนที่ครูสอนด้วยระบบพี่เลี้ยง ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาของห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่ครูดำเนินการออกแบบการสอนกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ระบบพี่เลี้ยงของโรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวน 40 คน เป็นเวลา 18 ชั่วโมง การเก็บข้อมูลพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้จะใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของรูปแบบการเรียนของนักเรียน ซึ่งพัฒนาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนไว้ 6 แบบ ได้แก่ การเรียนรู้แบบอิสระ การเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยง การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบพึ่งพา การเรียนรู้แบบแข่งขัน และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผลจากการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการ มีพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนมากที่สุดเพียง 3 รูปแบบ เท่านั้น โดยก่อนเรียนรูปแบบที่มากที่สุดเป็นรูปแบบ “การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม” จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 75 รองลงมารูปแบบที่สองเป็นรูปแบบ “การเรียนรู้แบบร่วมมือ” จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และลำดับที่สามเป็นรูปแบบ “การเรียนรู้แบบพึ่งพา” จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 และเมื่อจำแนกตามระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มมากที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับดีจำนวน 9 คน ระดับปานกลางจำนวน 9 คน ระดับน้อยจำนวน 8 คน และระดับน้อยมากจำนวน 4 คน และผลจากการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของรูปแบบการเรียนของนักเรียนหลังเรียนอีกครั้ง พบว่านักเรียนทุกคนยังมีพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้แบบเดิมและสัดส่วนของนักเรียนแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการเรียนรู้เท่าเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนระดับความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยนักเรียนกลุ่มที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับดีมากจำนวน 15 คน รองลงมาเป็นระดับดี จำนวน 15 คน และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ครูสอนโดยระบบพี่เลี้ยง ด้วยสถิติ Xแล้วพบว่าพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ครูสอนโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชาตรี นาคะกุล

กลุ่มสาขาวิชาวิจัยและการประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

กรมวิชาการ. (2540). เอกสารเสริมความรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา อันดับที่ 8 เรื่อง ทักษะการแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมวิชาการ. (2541).เอกสารเสริมความรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา อันดับที่ 9 เรื่องการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กานต์ เนตรกลางและคณะ.(2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เขต 5. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5.

ชัยณรงค์ ขันผนึก. (2558). คู่มือการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครู และนักเรียนที่เรียนคณิตศาสตร์ ขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยระบบพี่เลี้ยง.6-7 มิถุนายน 2558, โครงการบริการวิชาการหลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2530). สถิติเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมณี และคณะ. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ละเอียด อาจทวีกุล. (2549). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัยหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีสไตล์การเรียน ความถนัดทางการเรียน และภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(การวัดผลการศึกษา).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิทยา ตุงคะเสน. (2547). 10 วิธี 108 ปัญหา การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เชิงสร้างสรรค์. ชลบุรี:รัตนการพิมพ์.

วิทยา ตุงคะเสน. (2545). ปัญหาท้าทาย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทคิดส์สแควร์ จำกัด.

วิทยา ตุงคะเสน. (2546). แบบฝึกสำหรับเด็กอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. พี.เอ็น. การพิมพ์ จำกัด.

สมเกียรติ ทานอก. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เขต 1. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.(2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). เอกสารสำหรับผู้ให้การอบรมครูสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

อภิวัฒน์คำภีระ. (2556). กระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.Baroody, Arthur J.; &Coslick, Ronald T. (1993).Problem Solving, Reasoning, and Communicating,
K-8.USA: Macmillan.

Krulik, S. &Rudnich, J.A. (1993).Reasoning and problem solving.Massachusetts : Allyn and Bacon.

Reys, Robert E.; et al. (2001). Helping Children Learn Mathematics. Sixth Edition. New York: Wiley & Sons, Inc.

Reys, Robert E.; et al. (2004). Helping Children Learn Mathematics. Seventh Edition. New York: Wiley & Sons, Inc.

Riding R.J. & Rayner, S. (1998). Cognitive styles and Learning Strategy.London : David Fulton.

Yeap Ban Har. (2008). Problem Solving in the Mathematics Classroom (Primary). Singapore: FoongYuetFoong.