การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อลดความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อลดความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความเครียดของนักเรียน 2) ศึกษาแนวทางการลดความเครียดของนักเรียน 3) เปรียบเทียบระดับความเครียดของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการทำกิจกรรมลดความเครียด 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมลดความเครียดกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 96 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากนักเรียนที่มีสภาวะความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย สูงกว่าระดับปกติปานกลาง และสูงกว่าระดับสูงกว่าปกติมาก โดยใช้แบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิตจำนวน 20 คนและกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน ครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวน 12 คน ครูที่ปรึกษา จำนวน 8 คน ครูหอพัก จำนวน 15 คน จิตแพทย์ จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 1) เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิต และแบบสอบถามความพึงพอใจ 2) เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสัมภาษณ์นักเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาที่พบ มีปัจจัยหลายอย่าง เช่น การพักอาศัยอยู่ในหอพักซึ่งเป็นสถานที่ ที่อาจไม่คุ้นเคย กับการเรียนในหลักสูตรพิเศษที่มีความเข้มข้น ทางด้านเนื้อหาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรจำนวนมาก อีกทั้งการปรับตัวของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแตกต่างกัน เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่เคยผ่านโรงเรียนประจำมาก่อน ทำการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากนักเรียนที่มีสภาวะความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย สูงกว่าระดับปกติปานกลาง และสูงกว่าระดับสูงกว่าปกติมาก โดยใช้แบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิตจำนวน 20 คน และไม่เคยห่างจากพ่อกับแม่ หรือ บางคนไม่อยากมาเรียนแต่ครอบครัวบังคับให้มา และนักเรียนยังเด็กมากความรับผิดชอบน้อย การแบ่งเวลาก็ยังไม่เป็นอีกทั้งการสอบเข้ามาเป็นนักเรียนทุนของรัฐบาลเป็นความหวังของพ่อแม่ผู้ปกครอง สิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น คนรอบตัว กฎระเบียบรวมถึงมีความเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ของการเป็นวัยรุ่นของนักเรียนด้วย
- แนวทางการลดความเครียด ต้องบูรณาการอย่างหลากหลายเพื่อให้เกิดความสมดุลคือ Positive Thinking ปรับทัศนคติการจัดกิจกรรมผ่อนคลายในลักษณะนันทนาการ การฝึกคลายเครียดของกรมสุขภาพจิต ตามแบบวิธีของกรมสุขภาพจิต
- ผลการลดความเครียด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ระหว่างก่อนและหลังการทำกิจกรรมลดความเครียด ดังนี้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความเครียดลดลงหลังได้เข้าร่วมกิจกรรมความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เพราะกิจกรรมลดความเครียด เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จริงด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการการผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง
- ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมลดความเครียดของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนหลังการทำกิจกรรมลดความเครียดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านกิจกรรมลดความเครียด รองลงมา คือด้านการวัดและการประเมินผล ด้านสื่อประกอบกิจกรรมด้านเนื้อหาของกิจกรรมการลดความเครียดและด้านวิทยากร ตามลำดับ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กรมสุขภาพจิต. (2545).คู่มือคลายเครียดด้วยตนเองสำหรับวัยรุ่น.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.
ชูศรี สุวรรณ. (2555).จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับการฝึกผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญชม ศรีสะอาด.(2554).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2545). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ภัทราพรเกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา.เลย : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ภัทราพรเกษสังข์. (2554).การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research).ขอนแก่น : เพ็ญพรินติ้ง.
ยุทธชัย กิตติโยธิน. (2545). ความเครียดและวิธีลดความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ละออง มุ่งแซกกลาง. (2547). การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการเขียนเรียงความวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แผนที่ความคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Davis, M.E.(1995).The relaxation & Stress reduction work book.Oakland, CA : New Harbinger.
Farmer, R. E.andOthers.(1984).Stress management for humanservices.Beverly Hills: Sage Publications.