การศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2558

Main Article Content

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 494 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย ในด้านการใช้คำ และการใช้ประโยค โดยตรวจจากข้อมูลการเขียนเรียงความ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาความถี่และหาค่าร้อยละของข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย


ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยจากข้อมูลการเขียนเรียงความ ด้านการใช้คำ และการใช้ประโยค มีลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการใช้คำ ได้แก่ การใช้คำไม่ถูกต้องตามชนิดของคำ การใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน การเขียนสะกดคำ และการใช้คำฟุ่มเฟือย ด้านการใช้ประโยค โดยวิเคราะห์ตามหลักการสร้างประโยค ได้แก่ ประโยคใช้หน่วยเกิน ประโยคเว้นวรรคผิด ประโยคไม่สมบูรณ์ และประโยคเรียงลำดับผิด สำหรับสาเหตุลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานในการใช้ภาษาทั้งการใช้คำและการใช้ประโยค อิทธิพลของภาษาอื่น เขียนน้อย ขาดความรอบคอบ อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของแต่ละคน อาจทำให้นักศึกษาคำนึงถึงหลักการเขียนน้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

References

กานต์รวี ชมเชย. (2556). ภาษาไทยเน็ต : ภาษาเฉพาะกลุ่มของคนไทยรุ่นใหม่ในการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่ปรากฏ ในปี 2555-2556. กรุงเทพฯ: สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2550). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2558). ทักษะการเขียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://blog.eduzones.com/panumas125/126677 (วันที่ค้นข้อมูล : 15 ตุลาคม 2558).

ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2558, กันยายน–ธันวาคม). ข้อผิดพลาดในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 23 ฉบับที่ 43, 80-98.

ทินประภา จีระพันธุ จีรรัตน์ เพชรรัตนโมรา และอลิสา คุ่มเคี่ยม. (2550). ทักษะการเขียนภาษาไทยของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ปณิธาน บรรณาธรรม. (2555). รายงานวิจัย นักศึกษาจีนกับข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ภนิดา จิตนุกูล. (2551). ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง.

อัมพร ทองใบ และ มาลี พันธุ์ประเสริฐ. (2555). หลักภาษาไทย ม.4-5-6 (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : ธิงค์ บียอนด์