การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ที่เรียน เรื่อง สถิติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมือวิจัย ของกลุ่มที่เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์กับกลุ่มที่เรียนโดยวิธีปกติ

Main Article Content

ชาตรี นาคะกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนเรื่อง สถิติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมือวิจัย ของกลุ่มที่เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์กับกลุ่มที่เรียนโดยวิธีปกตินี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่เรียน เรื่อง สถิติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมือวิจัย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ที่เรียน เรื่อง สถิติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมือวิจัย ของกลุ่มที่เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ กับกลุ่มที่เรียนโดยวิธีปกติซึ่งการศึกษาวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาของห้องเรียนคณิตศาสตร์ระดับชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 82 คน โดยห้องที่ 1 มีจำนวน 40 คน และห้องที่ 2 จำนวน 42 คน โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการออกแบบการสอนเรื่อง สถิติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ของนักศึกษาที่ด้วยวิธีเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ ซึ่งจะใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้ให้กับกลุ่มทดลองการนำเข้าซึ่งห้องเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยการใช้ห้องเรียนจับสลากได้ห้องเรียนที่ 2 มีนักศึกษาจำนวน 42 คน เป็นกลุ่มทดลอง ส่วนอีกห้องที่เหลือจำนวน 40 คน จะใช้เป็นกลุ่มควบคุม โดยที่ทั้งสองห้องถูกเตรียมเนื้อหาในการเรียนการสอนเดียวกัน แต่ต่างกันที่เทคนิควิธีสอนตามการวิจัยที่ออกแบบไว้เท่านั้น ผลการวิจัย พบว่า จากการสำรวจพฤติกรรมรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคน นักศึกษากลุ่มทดลองจำนวนของ 42 คน มีพฤติกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบร่วมมือมากที่สุด จำนวน 28 คน รองลงมาเป็นรูปแบบมีส่วนร่วม จำนวน 10 คน และนักศึกษากลุ่มควบคุม จำนวนของ 40 คน มีพฤติกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบร่วมมือมากที่สุด จำนวน 30 คนรองลงมาเป็นรูปแบบมีส่วนร่วมจำนวน 9 คน จากผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองซึ่งเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทำนองเดียวกับ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มควบคุม ซึ่งเรียนโดยวิธีเรียนรู้แบบปกติ มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นเดียวกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบจากผลจาการทดสอบสถิติ t-test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่อง สถิติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยวิธีเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ มีค่าสูงกว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่อง สถิติเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ที่เรียนโดยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชาตรี นาคะกุล, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

กลุ่มสาขาวิชาวิจัยและการประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2546.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา

กาญจนา ลาภบุญเรือง. (2544). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนและศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ TEAMS-GAMES-TOURNAMENT และแบบปกติ.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉวีวรรณ แก้วหล่อน. (2540). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้. รายงานวิจัย. (อัดสำเนา).

ชาติชาย ม่วงปฐม. (2539). ศึกษาผลของวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือและระดับความสามารถที่มีผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5.รายงานวิจัย. (อัดสำเนา).

ชัยณรงค์ ขันผนึก. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของศึกษาที่เรียน วิชา คณิตศาสตร์เบื้องต้น เรื่อง ตัวกำหนด แบบร่วมมือด้วยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์.โครงการวิจัยในชั้นเรียนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์.

นาฏยา ปั้นอยู่. (2543). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อเชาว์อารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชามัธยมศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิศารัตน์ ชื่นใจ. (2544). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเร็วของนักเรียน. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระกศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : สุวีรียาสาสน์

เผียน ไชยศร.(2531). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา.เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2542). “การเรียนแบบร่วมมือกัน ”ใน ประมวลบทความการเรียนการสอนและการวิจัยระดับมัธยมศึกษา. หน้า 1-16. จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช &สร้อยสน สกลรักษ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช

ยุพินพิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดิกส์

รตินันท์ ไมตรีจิต.(2537). ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือกับการสอนตามคู่มือครู.สมุทรปราการ. (อัดสำเนา).

รักษ์สุดา ทรัพย์มาก.(2548). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน(CIRC) และการประเมินตามสภาพจริง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัตนา เจียมบุญ.(2540). ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือประกอบการสอนแบบ TEAMS-GAMES-TOURNAMENT กับการสอนตามคู่มือครู.กาญจนบุรี. (อัดสำเนา).

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.(2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ1999

วัลลภา อารีรัตน์. (2554). เอกสารประกอบการสอน “ปัญหาและกลวิธีในการสอนคณิตศาสตร์”.ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิสัน สุวรรณคีรี.(2538). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคิดเห็นในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ที่เรียนโดยวิธี เอส ที เอ ดี. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2542).จิตวิทยาการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีภรณ์ณะวงศ์ษา.(2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมแบบ TEAMS–GAMES-TOURNAMENT แบบ STUDENT TEAMS ACHIEVEMENT DIVISION และการสอนตามคู่มือครู. กรุงเทพฯ. (อัดสำเนา).

ศรีวิตรา รักพุดซา. (2547). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง.กรุงเทพฯ:เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการศึกษากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา

สุธาดา มุ่งซ่อนกลาง. (2540). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความร่วมมือในการทำงานกลุ่มระหว่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยวิธีการแบบร่วมมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชามัธยมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิริพรทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ไสว ฟักขาว. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม

Artze, A. F. and Newman, C.M. (1990).Cooperative Learning. The Mathematics Teacher.83 (September).

Slavin, R. E. (1995).Cooperative Learning.Theory, Research and Practice.U.S.A.: Allyn and Bacon.

Zisk, Joseph F. (1996). The Effects of a Cooperative Learning Program on the Academic Self- Concept of High School Chemistry Student.Dissertation Abstrcts International.