พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ความคิดเห็น และรูปแบบรายการจาก สื่อวิทยุโทรทัศน์ของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ : กรณีศึกษา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

Main Article Content

ณัฐแก้ว ข้องรอด

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ความคิดเห็น และรูปแบบรายการจากสื่อวิทยุโทรทัศน์ของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ : กรณีศึกษา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ของประชาชนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ศึกษาความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ในองค์ประกอบด้านความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อรายการโทรทัศน์ ของประชาชนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบของรายการโทรทัศน์ให้เป็นที่ต้องการของประชาชนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ประชาชนผู้รับชมรายการโทรทัศน์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ  และความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ จากสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส


ผลการวิจัย พบว่าข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง  21-39  ปี อาชีพ  ส่วนใหญ่รับราชการ  รายได้  มากกว่า 15,000 บาท มากที่สุด  ระดับการศึกษา  ส่วนใหญ่จบปริญญา  จำนวน  143  คน  ภูมิลำเนา  ส่วนใหญ่อยู่โซนกลาง  จำนวน  178  คน


ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ของประชาชนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการรับชม คือ รับชม 1-2 วันต่อสัปดาห์ มากที่สุด ระยะเวลาการรับชมส่วนใหญ่ มากกว่า 2-3 ชั่วโมง ลักษณะการรับชม เปิดชมเฉพาะช่วงรายการที่ตนเองสนใจ มากที่สุด บุคคลที่ร่วมรับชม โดยจะดูคนเดียวตลอดมากที่สุด สถานที่รับชม จะรับชมในห้องนั่งเล่น/ห้องดูทีวีในบ้าน มากที่สุด


ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ ของประชาชนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 3.45 เมื่อพิจารณารายด้าน แสดงให้เห็นว่า ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านทัศนคติ มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 3.52 รองลงมา ได้แก่ ด้านความรู้ และด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ย (x̄)  เท่ากับ 3.41

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณัฐแก้ว ข้องรอด, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

ฑิตยา สุวรรณะชฎ. (2543). กรอบความคิดทฤษฎีของกระบวนการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการส่งเสริม งานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บดินทร์ แตรรูปวิไล. (2550). ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสื่อโฆษณาของ บริษัทจีอี แคปปิตอล ออโต้ลีส. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสาตร์อุตสหกรรมมหาบัณฑิต, ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เพ็ญพักตร์ อร่ามเรือง. (2552). ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6 ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีใน วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตร์อุตสหกรรมมหาบัณฑิต, ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

นฤมล เฉลยถ้อย. (2549). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อความคิดเห็นและรูปแบบที่ต้องการของสื่อโฆษณาด้านสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ในทัศนะของวัยรุ่นไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสาตร อุตสหกรรมมหาบัณฑิต, ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ปรมะ สตะเวทิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.หน้า 30.

อรอุมา ศรีสุทธิพันธ์. (2545). ศึกษาความคิดเห็นและพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออินเตอร์เน็ตกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. .วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารยา ศุพุทธมงคล. (2535). ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโฆษณาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางสื่อโทรทัศน์ ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, ภาควิชาการ ประชาสัมพันธ์คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.