ผลของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาโครงงานวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความตระหนักในคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาสาขาวิชา พลศึกษาก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานและระบบพี่เลี้ยง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 34 คน ที่เรียนในรายวิชาพฤติกรรมการสอนวิชาพลศึกษาในระดับมัธยมศึกษา การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานและระบบพี่เลี้ยง จำนวน 14 สัปดาห์ ทำการประเมินความตระหนักในคุณลักษณะความเป็นครู ก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ค่า “ที” ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากการวิจัยพบว่า หลังการทดลองด้วยการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานและระบบพี่เลี้ยง จำนวน 14 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินความตระหนักในคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยาก ของคนทั้งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิธวรรธน์ สีชื่น. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานและระบบพี่เลี้ยง. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(1).
สุเทพ ธรรมะตระกูล และอนุวัติ คูณแก้ว. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของครูยุคใหม่. เพชรบูรณ์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2555). โครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).