การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่ศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วิชญาพร อ่อนปุย
พิชญาภา ตรีวงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดสะเต็มศึกษากลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ห้อง 1 จำนวน 31 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ประกอบการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้คือ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษา  2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษา และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้โดยการทดสอบที t–test Dependent samples


              ผลการวิเคราะห์ข้อมูล


1. ผลการศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นก่อนการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาดำเนินการทดสอบโดยใช้แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ มีผลคะแนนเฉลี่ย  x̄ = 10.90, S.D. = 2.30 หลังการจัดการเรียนการสอนดำเนินการทดสอบโดยใช้แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ชุดเดิมมีผลคะแนนสูงขึ้นเฉลี่ย  x̄ = 22.77, S.D. = 2.93 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีผลคะแนนพัฒนา โดยเฉลี่ย x̄ = 11.87, S.D. = 3.08 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดสะเต็มศึกษา พบว่าหลังการจัดการเรียนการสอน มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดสะเต็มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยภาพรวมมีผลการประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับพอใจมาก ทั้งนี้สามารถเรียงลำดับความพึงพอใจได้ ดังนี้ 1) ด้านอาจารย์ผู้สอน มีผลการประเมินอยู่ระดับพอใจอย่างยิ่ง  2) ด้านบทบาทผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใจมาก และ 3) ด้านกระบวนการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิชญาพร อ่อนปุย, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

พิชญาภา ตรีวงษ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ประจำพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559, ตุลาคม-ธันวาคม). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 334-348.

ทิศนา แขมมณี. (2554, 24 เมษายน). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ:การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. เอกสารประกอบการบรรยายผลงานทางวิชาการในที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง.

พรทิพย์ ศิริภัทรชัย. (2556, เมษายน-มิถุนายน). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษ.วารสารนักบริหาร, 33(2), 1.

ภัสสร ติดมา. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องระบบร่างกายมนุษย์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556, พฤศจิกายน-ธันวาคม). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 42(185), 14-18.

วรัลดา หนูรุ่น. (2557). การวิจัยและพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนหงส์ประภาสประสิทธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1).