การสัมผัสเสียงสระ <ไ-> กับ <ใ-> ในลิลิตยวนพ่ายและโคลงทวาทศมาส นัยแห่งการกำหนดสมัยการรวมเสียง [-aj] ในภาษาไทย

Main Article Content

ดำรงค์ นันทผาสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบรูปแบบและความถี่ของการสัมผัสเสียงสระระหว่างคำที่มีรูปเขียน <ไ-> กับคำที่มีรูปเขียน <ใ-> ในลิลิตยวนพ่ายและโคลงทวาทศมาส ตามวิธีการศึกษาของ Bickner (1992) โดยใช้ลิลิตยวนพ่าย (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4) ของกรมศิลปากร และโคลงทวาทศมาส (วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 2) ของกรมศิลปากร เป็นตัวบทในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าการสัมผัสเสียงสระระหว่างคำที่มีรูปเขียน <ไ-> กับคำที่มีรูปเขียน <ใ-> ในลิลิตยวนพ่ายแยกกันชัดเจน คำที่มีรูปเขียน <ไ-> สัมผัสกับคำที่มีรูปเขียน <ใ-> จำนวน 3 ครั้งแตกต่างจากการสัมผัสเสียงสระระหว่างคำที่มีรูปเขียน <ไ-> กับคำที่มีรูปเขียน <ใ-> ในโคลงทวาทศมาสที่ไม่แยกกันชัดเจน คำที่มีรูปเขียน <ไ-> สัมผัสกับคำที่มีรูปเขียน <ใ-> จำนวน 20 ครั้งแสดงนัยว่าเกิดปรากฏการณ์การรวมเสียง [-aj] ระหว่างช่วงหลังการแต่งลิลิตยวนพ่ายกับช่วงการแต่งโคลงทวาทศมาส (พ.ศ.2007-2026)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดำรงค์ นันทผาสุข, สาขาวิชาภาษาศาสตร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

References

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2544). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น : ลักษณะร่วมและอิทธิพล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิลปากร, กรม. (2513). ลิลิตยวนพ่าย. พิมพ์ครั้งที่ 4. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร.

ศิลปากร, กรม. (2530). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2545, มิถุนายน). ใครแต่งยวนพ่าย? พระราชาคณะมีสมณศักดิ์ “เบญญาพิศาล”แต่งตอนแรก. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 23(8), 122-125

สิรีมาศ มาศพงศ์. (2558). ความต่างที่มีนัยสำคัญด้านความสั้นยาวของสระในภาษาไทยสมัยสุโขทัย.(วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, สาขาวิชาภาษาศาสตร์.

ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล. (2556). ยวนพ่ายโคลงดั้น : ความสำคัญที่มีต่อการสร้างขนบและพัฒนาการของวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติของไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย.

ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2513). ยวนพ่ายโคลงดั้น ฤายอพระเกียรติ พระเจ้าช้างเผือก กรุงเก่าบรรยายปฐมเหตุอันเปนที่มาของการแต่งโคลงยวนพ่าย และประวัติแห่งรัชสมัยในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถกรุงศรีอยุธยาซึ่งทำยุทธการกับพระเจ้าติโลกราชแห่งกรุงนพบุรีศรีพิงคนคร. ม.ป.ท.

Bickner, R.J. (1992). Some textual evidence on the Tai sounds /*-ay/ and /*-au/. In C.J. Compton and J.F. Hartmann (Ed.), Papers on Tai languages, Linguistics, and Literatures,223-230. Center for Southeast Asian Studies, Northern Illinois University.

Pittayawat Pittayaporn. (2009). The Phonology of Proto-Tai. Doctorate dissertation. CornellUniversity