การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมการมีปัญญาธรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมการมีปัญญาธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัดพฤติกรรมการมีปัญญาธรรม 2) วิเคราะห์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดของแบบวัดพฤติกรรมการมีปัญญาธรรม และ 3) วิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดตามเกรดเฉลี่ย โดยทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบหลายขั้นตอนกำหนดโควต้า (Multistage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) จำนวน 300 คน 2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และทำการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด จำนวน 300 คน โดยมีค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดอยู่ระหว่าง 0.32-0.68 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0.82
ผลการวิเคราะห์พบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเปิดรับข่าวสาร จำนวน 5 ข้อ 2) การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา จำนวน 4 ข้อ 3) การวิเคราะห์ วิจารณ์ จำนวน 3 ข้อ และ 4) การแสดงความคิดเห็น จำนวน 3 ข้อ รวมทั้งสิ้น 15 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 58.10 เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ² = 113.36, df = 83, χ²/df = 1.37 , GFI = 0.98 CFI=0.96 RMSEA= 0.03 SRMA = 0.04) ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล พบว่า ไม่พบความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดในเชิงรูปแบบโมเดล (Form) และความไม่แปรเปลี่ยนของน้ำหนักองค์ประกอบ (LY) ตามเกรดเฉลี่ยของนักเรียน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ปนาลี แทนประสาน และมณฑิรา จารุเพ็ง. (2562). การศึกษาความซื่อตรงทางการศึกษาของนักศึกษาปริญญาตรี.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 98-110.
ปัญจา ชูช่วย. (2554). วิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสถาบันการอุดมศึกษา. สาขาวัดผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พนิดา ทองเงา ดอร์น. (2561). การพัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะความยึดมั่นในความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(ฉบับพิเศษ).
ลัดดาพร จุปะมะตัง ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน และสุมาลี ชูกำแพง. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4.วารสารวัดผลการศึกษา, 17(1), 251-264.
ศูนย์คุณธรรม. (2562). 10 ปรากฏการณ์ คุณธรรม จริยธรรมสังคมไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อนันต์ แย้มเยื้อน สมนึก หงส์ยิ้ม และอัครเดช พรหมกัลป์. (2563). การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบของเยาวชนในชุมชนและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 26(2), 43-57.
Bentler, P.M. (1990). Comparative fit indexes in structural model. Psychological Bulletin, 107, 238-246.
Bentler, P.M. and Bonett, D.G. (1980). Significance tests and goodness-of-fit in the analysis of covariancestructures. Psychological Bulletin 88, 588-600.
Browne, M. W. and Cudeck, K. (1993). Alternative ways of assessing model fit. In K. A. Bollen and J. S.Long (Eds.), Testing structural equation models. News bury Park, CA: Sage.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A globalperspective. 7thed. New Jersey, NJ: Pearson Prentice Hall.
Joreskog, K. G. and Sorbom, D. (1989). LISREL 7: User’s reference guide. Chicago: SPSS Publications.
Vandenberg, R. J. and Lance, C. E. (2000). A review and synthesis of the measurement invarianceliterature: Suggestions, practices and recommendations for organizational research. OrganizationalResearch Methods, 9, 214-227.