การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติ ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนานาชาติไทย – จีน
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, นักเรียนชาวต่างชาติ, โรงเรียนนานาชาติไทย-จีนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 75 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนชาวต่างชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และความพึงพอใจของนักเรียนชาวต่างชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากรได้แก่นักเรียนชาวต่างชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนานาชาติไทย – จีน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะ การสื่อสาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 77.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 (2) ความก้าวหน้าทางการเรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะ การสื่อสาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 58.78 (3) นักเรียนชาวต่างชาติ ที่เรียนภาษาไทย โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร ตามแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าและมีความพึงพอใจมากกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2561). กลวิธีการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
กุมารี สุวรรณสิงห์. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออเบื้องต้น ในรายวิชาดนตรีไทยปฏิบัติตามความถนัด. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 4กรุงเทพมหานคร : วงศ์กมล โปรดักชั่น จำกัด.
กานต์รวี อาริยธนไพศาล. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย ท 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565. จาก https://www.donschool.ac.th/files/PDF60-65/Krukanrawee.pdf
จินดา ลาโพธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีซินเนคติคส์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ฉัตรธิดา ศัพทเสวี. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชปักษีที่สอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 1), หน้า 103-118.
ชฎาพร สถิตเสถียร. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการหาร โดยใช้การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์ ปีการศึกษา2560. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565. จาก. http://www.edu- journal.ru.ac.th/AbstractPdf /2561-3-1_1525837479_5914620001.pdf.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. นครปฐม : ศึกษาศาสตร์ศิลปากร.
ณัฐพร ผกาหลง. (2552). การพัฒนาชุดการสอนโซลเฟจประกอบหลักสูตรไวโอลินตามแนวของยามาฮ่าสำหรับนักเรียนโรงเรียนดนตรีสยามกลการระดับชั้นต้น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ทาริกา สมพงษ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ทิพย์สุดา ทวีสิทธิ์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ธัญญาดล อุปชิตกุล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books) เรื่อง หลักภาษาและการใช้ภาษา รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน (ท31102) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565. จาก.http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640706_195733_8618.pdf.
ธีรารัตน์ ไกรสีขาว. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวันด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. (ค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
นิตยา แห้วตะนะ. (2563). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เรื่อง Animals ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ BBL.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5. สืบค้นเมื่อ29 เมษายน 2565. จาก. http://rtunc2020.rtu.ac.th/Production /proceeding/pdf/Oral%20Presentation/Oral4ED/5ED_O27.pdf.
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2552). การจัดหลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประภัสรา โคตะขุน. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning : BBL). สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564. จาก. https://sites.google.com/site/prapasara/2-12.
ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และ ทักษะการ คิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้ แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(หลักสูตร และการสอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ปรุงฉัตร อินบุตรดี. (2560). เปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1 โดยการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain- Based Learning) กับวิธีสอนแบบปกติ. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565. จาก. http://www.edu- journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-5-1_1510561192_is-eng58-0007.pdf.
ผกาพรรณ จันทะ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อเกมกระดานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ภัทธรวดี สีสด. (2556). ผลของการสอนแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 6 ฉบับที่ 3. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2565. จาก.file:///C:/Users/Nongsong/Downloads/boonsri1,+Journal+manager,+5_%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0.pdf.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2552). แนวการสอนวิทยาศาสตร์กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
มีชัย เอี่ยมจินดา. (2548). การเรียนรู้ภาษาที่สอง. วารสารศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 35 (ฉบับที่ 2). หน้า 54-64.
มณฑาทิพย์ อัตตปัญโญ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การประชุมวิชาการแห่งชาติ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565. จาก.https://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/img/gallery/article_9/pdf/pdu01.pdf.
รัตน์วิสาณ งามสม. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรไร ใหม่วัน. (2544). การใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วารี รักหะบุตร. (2552). การเปรียบเทียบผลการเรียนเรื่องนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบฝึกปฏิบัติกับการเรียนแบบปกติ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงดาว ถิ่นหารวงษ. (2558). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติในรายวิชาวรรณคดีสำหรับเด็ก. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 17 ฉบับที่ 1. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565. จาก.http://hs.pbru.ac.th/phocadownloadpap/hs_magazine/1_2558/1.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษา. (2560). หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติ. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2558). แผนพัฒนาโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนที่ใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2561). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL). สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2564. จาก. https://www.okmd.or.th/bbl/about/bbl.php.
อังคณา อ่อนธาน. (2564). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำงานและอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
อรวรรณ ชูแก้ว. (2560). การศึกษากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคำศัพท์และความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. สืบค้น เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2564. จาก. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/99918/77609.
อรุณี วิริยะจิตรา. (2542). การเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุลัยวรรณ ชื่นใหญ่. (2563) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement). สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2564. จาก. https://kruoiysmarteng.blogspot.com/2016/08/achievement.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว