เจดีย์หลวงมหาธาตุกลางเวียง: ภาพสะท้อนคติจักรพรรดิราช ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - พ.ศ. 2030)

ผู้แต่ง

  • พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ประทีป พืชทองหลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

คติจักรพรรดิราช, พระเจ้าติโลกราช, คติมหาโพธิมณฑล, พระธาตุเจดีย์หลวง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนคติพระจักรพรรดิราชในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ผ่านบทบาทในการอุปถัมภ์ค้ำชูพระศาสนา โดยใช้แนวคิดธรรมราชาและคติพระจักรพรรดิราชมาช่วยเสริมความมั่นคงสิทธิธรรมและพระราชอำนาจ  โดยศึกษาจากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ มูลศาสนา และตำนานพระธาตุเจดีย์หลวง ประกอบกับการตีความองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและวิธีการทางประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อวิเคราะห์สิ่งที่เป็นภาพแฝง บทบาทในด้านการศาสนาและการเมืองของพระองค์ การศึกษานี้พบว่าการที่พระองค์เลือกเสริมสร้างบูรณะเจดีย์หลวง อาจมีความเกี่ยวข้องกับคติมหาโพธิมณฑล เนื่องจากการสถาปนาพระเจ้านั่งใต้ไม้ศรีมหาโพธิเป็นฐานรากเจดีย์ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา การเสริมสร้างเป็นเจดีย์กระพุ่มยอดเดียว มีช้างและสิงห์ล้อมที่ฐาน พระปฏิมาปางสมาธิใต้ควงไม้มหาโพธิที่ซุ้มจรณัม และการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เจดีย์หลวง เหล่านี้ล้วนสื่อนัยยะความสำคัญของคติมหาโพธิมณฑล สายดือทวีปอันเป็นจุดศูนย์กลางจักราวาลตามคติพุทธที่มีส่วนเสริมสร้างความเป็นพระจักรพรรดิราช ด้วยการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มาเป็นเครื่องมือสร้างคติความเชื่อร่วมกันในหมู่อาณาประชาราษฎร์ในยุคสมัยนั้น

References

กรมศิลปากร. (2513). ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ 1 และภาคที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: เจริญสิน.

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2538). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ700ปี. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์ ). (2548) . มองโลกล้านนาผ่านอรุณวดีสูตร.เชียงใหม่: สันติภาพ.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2552). คติสัญลักษณ์ศีรษะแผ่นดิน. วารสารศิลปวัฒนธรรม, 31(1), 84-111.

เชษฐ์ ติงสัญชลี (2555) . “สัตตมหาสถาน : พุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขกับศิลปกรรมอินเดียและเอเชียอาคเนย์.กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ .

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2556). สังเวชนียสถาน และสถานที่สำคัญทางพุทธประวัติในอินเดีย–เนปาล. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2463). ตำนานพระพุทธเจดีย์. คุรุสภา, กรุงเทพฯ.

ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระ. (2540). ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ปฐม หงษ์สุวรรณ, (2554). ตำนานพระพุทธรูปล้านนา: พลังปัญญาทางความเชื่อและความสัมพันธ์กับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระพุทธญาณ พระพุทธพุกาม, บำเพ็ญ ระวิน, ผู้แปล. (2463). มูลสาสนา สำนวนล้านนา. ม.ป.ท.

พระรตนปัญญามหาเถระ, แสง มนวิทูร, ผู้แปล. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546) . ความหมายของพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). พระธาตุหริภุญไชย : ต้นแบบเจดีย์ “ทรงระฆังแบบล้านนา.” วารสารดำรงวิชาการ. (5),61-62.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปล้านนาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พระแก้วมรกต. กรุงเทพฯ : มติชน.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2560) . เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศานติ ภักดีคำ (2552). ไตรภูมิหรือวรรณกรรมโลกศาสตร์พระพุทธศาสนา : ความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2551). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สมคิด จิระทัศนกุล. (2545). คติ สัญลักษณ์และความหมายของซุ้มประตูหน้าต่างไทย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). (2547) .พระแก้วมรกต. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุวิภา จำปาวัลย์. (2558). พระธาตุในสังคมล้านนา: พัฒนาการและการปรับเปลี่ยนจากรัฐจารีตสู่โลกาภิวัตน์ . (วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2525). ไตรภุมม์ (ไตรภูมิฉบับล้านนา). หน่วยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมศึกษาและวัฒนธรรมล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

เอเดรียน สนอดกราส. (2541). สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022