บทบาทรัชกาลที่ 5 กับการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาเจริญ กระพิลา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

รัชกาลที่ 5, การศึกษา, คณะสงฆ์ไทย

บทคัดย่อ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งที่มีบทบาทและคุณูปการต่อชาติบ้านเมือง ในช่วงที่พระองค์ครองราชย์นั้น สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดจากภัยสงคราม ซึ่งเป็นเหตุให้หลายประเทศต้องตกเป็นเมืองขึ้น ประกอบกับหลาย ๆ ประเทศในโลกพยายามพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง การศึกษาคือหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่เป็นประมุขของชาติ ทรงประกาศพระองค์ในฐานะอัครศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนา การศึกษาของ  คณะสงฆ์จึงเป็นพระราชภาระอย่างหนึ่งที่พระองค์จะต้องดูแลและส่งเสริม โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดการศึกษา และทรงมีแนวพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาให้กับคนในชาติได้เรียนรู้อย่างเท่าเทียม ด้วยการให้พระสงฆ์เป็นผู้นำด้านการศึกษา เพราะจะเป็นผลดีต่อการศึกษา คือคนในชาติเป็นผู้มีทั้งความรู้และคุณธรรมตามพระราชประสงค์ พร้อมกับยึดมั่นในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

References

กรมศิลปากร. (2516). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

กฤษณา เกษมศิลป์. (2525). นาลันทาแห่งกรุงสยาม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศิษย์มหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์.

ไกรฤกษ์ นานา. (2563). “นโยบายกันชน” ของรัชกาลที่ 5 มีจริงหรือ? ทำไมต้องมี? (ตอนที่ 1 ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article _4931.

เฉลิม อยู่เวียงไชย. (2516). สมัยกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 131 หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ชัย เรืองศิลป์. (2527). ประวัติศาสตร์ไทยด้านสังคม สมัย พ.ศ. 2352 – 2453. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2461). ประวัติวัดมหาธาตุ. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2493). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2514). ประชุมพระนิพนธ์เกี่ยวกับตำนานทางพุทธศาสนา.พระนคร: กรมศิลปากร.

นิพนธ์ สุขสวัสดิ์. (2521). วรรณคดีไทยเกี่ยวกับพุทธศาสนา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

แน่งน้อย ติตติรานนท์. (2519). เสนาบดีกระทรวงธรรมการในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2510). พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2417-2453). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว.ทองเถา ทองแถม. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2511). เอกสารเรื่องจัดการศึกษาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ในโอกาสครองราชย์ 100 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชย์. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2513). พุทธศาสนประวัติระหว่าง 2500 ปี ที่ล่วงแล้ว. พระนคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2437). ธรรมจักษุ เล่ม 1 ตอนที่ 1-3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2439). ธรรมจักษุ เล่ม 3, ตอนที่ 1-6. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13. (2439). เรื่องประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆกเสนาสน์. ราชวิทยาลัย (ลงวันที่ 20 กันยายน ร.ศ. 115).

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. (2512). ประวัติวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในมหามงคลสมัยชนมายุครบ 5 รอบ สมเด็จพระวันรัตน กิตติโสภณเถระ.กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (2514). ประมวลพระนิพนธ์พระราชหัตถเลขา-ลายพระหัตถ์.กรุงเทพฯ: ธนาคารศรีอยุธยาจํากัด.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (2514). ลายพระหัตถ์เกี่ยวกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วุฒิชัย มูลศิลป์. (2514). การปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

วัยอาจ, เดวิด เค. (2509). คณะสงฆ์เป็นเครื่องยกฐานะในสังคมไทยโบราณ .วารสารศิลปากร, 10 (1), หน้า 41-52.

ศิริวรรณ อาษาศรี, รมิดา โภคสวัสดิ์. (2559). บทบาทพระสงฆ์ไทยภายใต้อำนาจรัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_126739.

สมบัติ จันทรวงศ์. (2522). พระญาจักรพรรดิราชในไตรภูมิพระร่วง : ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับความหมายทางการเมือง. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 4(1), 1-17.

เสถียรโกเศศ. (2510). ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน. พระนคร: สำนักพิมพ์บรรณาการ.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2433). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 1/3 เล่ม 1 เรื่องลายพระหัตถกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ เรียนเจ้า พระยาภาสกรวงศ์ (ร.ศ. 109).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2433). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 1/5 เรื่องลายพระหัตถกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ กราบบังคมทูลรัชกาล ที่ 5 ที่ 337 (ลงวันที่ 7 มกราคม ร.ศ. 109).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2433). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/1 เรื่องโรงเรียนพระปริยัติธรรม รายงานมหาธาตุวิทยาลัย จำนวนพระสงฆ์และสามเณรเล่าเรียนพระปริยัติธรรม (ร.ศ. 109).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2434). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 1/24 เรื่องหนังสือพระยาวุฒิการบดีรายงานการกรมศึกษาธิการ (ลงวันที่ 4 มีนาคม ร.ศ. 110).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2435). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 1/22 เรื่องหนังสือเจ้าพระยาภาสกรวงษ์กราบทูลกรมขุนสมมตอมรพันธ์ (ลงวันที่ 22 มิถุนายน ร.ศ. 111).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2435). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/2 เรื่องหนังสือเจ้าพระยาภาสกรวงษ์ กราบทูลกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ (ลงวันที่ 24 มิถุนายน ร.ศ. 111).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2435). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/2 เรื่องพระราชหัตถเลขาตอบเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ที่ 408/111 ศธ. 5 (ลงวันที่ 27 สิงหาคม ร.ศ. 111).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2435). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/2 ฎีกาที่ 1 เรื่องพระราชบัญญัติเป็นประเพณีสำหรับมหาธาตุวิทยาลัย (ร.ศ. 111).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2436). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/2 เรื่องหนังสือพระอินทรประสิทธิ์ศร ผู้ว่าราชการเมืองอินทรีย์กราบทูลกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ลงวันที่ 26 มีนาคม ร.ศ. 112).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2438). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/4 เรื่องรายงานของพระธรรมไตรโลกาจารย์ นายกของมหามกุฏราชวิทยาลัย รายงานกิจการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในรอบปีที่ 2 ร.ศ. (114).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2439). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/6 เรื่องหนังสือเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการกราบทูลกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ราชเลขาธิการ ที่ 77/4797 (ลงวันที่ 13 ตุลาคม ร.ศ. 115).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2441). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 2/3 เรื่องรายงานความเห็นพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ที่จะจัดการศึกษา ของนักเรียนสยามให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน (วันที่ 8 เมษายน ร.ศ. 117).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2441). เอกสารรัชกาลที่ 5 เรื่องพระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ลงวันที่ 24 กรกฎาคม ร.ศ. 117).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2441). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 12/7 เล่ม 1 เรื่องรายงานการประชุมพิเศษ (วันที่ 26 กันยายน ร.ศ. 117).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2442). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 5/9 เรื่องลิขิตสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดราชบูรณะ (ลงวันที่ 27 ตุลาคม ร.ศ. 118.).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2443). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 1/25 เล่ม 3 เรื่องเบ็ดเสร็จกระทรวงศึกษาธิการ หนังสือเจ้าพระยาภาสกรวงษ์ (ลงวันที่ 9 กรกฎาคม ร.ศ. 119).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2444). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 3/4 เรื่องพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2444). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 3/4 เรื่องหนังสือกราบบังคมทูลของกรมหมื่นเทวศรวงษ์ (ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 6/56 เล่ม 5 เรื่องวัดเบญจมบพิตร (ไม่ระบุวันที่และผู้รับ).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 6/64 เรื่องตั้งหอพุทธสาสนะสังคหะ (ไม่ระบุวันที่และผู้รับ).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2451). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 6/113 เรื่องพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ลงวันที่ 5 มีนาคม ร.ศ. 127).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2451). เอกสารรัชกาลที่ 5 ศ. 6/112 เรื่องพระราชหัตถเลขาถึงพระธรรมวโรดม (ลงวันที่ 3 กรฎาคม ร.ศ. 127).

ห้องสมุดวชิรญาณ. (2379). หมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1198 เลขที่ 1 ตอนที่ 1 เรื่องประชุมพระราชาคณะ.

ห้องสมุดวชิรญาณ. (2387). หมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1206 เลขที่ 10 มัดที่ 7 ตอนที่ 8 เรื่องจัดเสื่อปูในพระที่นั่งดุสิตให้พระเรียนปริยัติธรรม.

ห้องสมุดวชิรญาณ. (2387). หมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1206 เทศนาปฐมสมโพธิ เลขที่ 6 ตอนที่ 25 เรื่องต้มน้ำร้อนถวายพระสงฆ์ที่มาเรียนพระปริยัติธรรมบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท.

ห้องสมุดวชิรญาณ.(2394). หมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1213 ประกาศวันมหาสงกรานต์ เลขที่ 32 ตอนที่ 6

ห้องสมุดวชิรญาณ. (2403). หมายรับสั่งรัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1222 เลขที่ 31 ตอนที่ 10 เรื่องพระราชทานเพลิงศพเจ้าราชวงศ์ลำพูน.

อศิน รพีพัฒน์ แปลโดย ม.ร.ว.ประกายทอง สิริสุข และพรรณี สรงบุญมี. (2521). สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325-2416. พระนคร:พิฆเณศ.

อารีย์ สหชาติโกสีห์. (2522). วรรณคดีเกี่ยวกับพุทธศาสนาสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

อุษา ชัยโชณิชย์. (2526). การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในระยะปี พ.ศ. 2432-2490. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022