บทบาทของอุบาสิกาในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ญาณวดี เคลือบมาศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูพิพิธสุตาทร ดูใจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

อุบาสิกา, การอุปถัมภ์, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาบทบาทของอุบาสิกาในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล และเพื่อศึกษาบทบาทอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาของอุบาสิกาปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลจากพระไตรปิฎกเป็นหลักและข้อมูลจากอรรถกถา รวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนประกอบ

            ผลการศึกษาพบว่า คำว่า อุบาสิกา คือ สตรีผู้เข้ามานั่งใกล้พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าตรัสให้มีบทบาทรับภาระพระพุทธศาสนาและพัฒนาตนเองตามหลักศาสนาไปพร้อม ๆ ภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก และอุบาสิกา ถึงแม้จะมีข้อจำกัดทางร่างกายหลายอย่างก็ตาม แต่พวกเขาสามารถรับผิดชอบและภาระงานทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี  บทบาทของผู้หญิงในพระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นผู้ถวายทาน เป็นผู้ปฏิบัติกัมมัฎฐานและเผยแผ่พุทธธรรม เป็นต้น ทุกครั้งที่มีการถวายทานก็มักจะมีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วยเสมอ เป็นความจริงที่ว่าผู้หญิงในฐานะอุบาสิกาจึงมีคุณูปการสำคัญยิ่งในการช่วยบำรุงและประคับประคองพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบัน เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาได้เปิดกว้างให้สำหรับสตรีโดยทั่วไปจึงทำให้สตรีทุกชนชั้นวรรณะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังเป็นต้นแบบแก่อุบาสิกายุคใหม่ที่เพียบพร้อมไปด้วยวิชาและจรณะ

References

ดวงกมล ทองคณารักษ์. (2547). บทบาทและความสําคัญของอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ปัญญา ใช้บางยาง. (2552). 46 อุบาสิกาในสมัยพุทธกาล. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ประวัติวัดป่าภูก้อน. (2564). สืบค้นจาก https://www.watpaphukon.org/history

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาถวิช เตชะดำ. (2540). อุบาสิกาในพระไตรปิฎก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย).

พระมหาสมปอง มทิโต, (2542). (แปล). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระครูกัลยาณสิทธิธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม). (2544). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

วัดคณิกาผล (วัดใหม่ยายแฟง ). (2564). สืบค้นจาก https://www.posttoday com/dhamma./640164)

สุนทรี สุริยะรังสี. (2544). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของคฤหัสถ์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาศึกษากรณีเฉพาะอุบาสิกาผู้ได้รับเอตทัคคะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

อุทัย มณี. (2563). การบริจาคที่ดินและสร้างอาคารมหาวิทยาลัยสงฆ์. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/dhamma/640164)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022