มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ: แนวทางเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิด การดำเนินงาน และคุณค่าของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยไทย กลุ่มตัวอย่างคือ เอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการในต่างประเทศ 9 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยเชิงประกอบการในประเทศไทย จำนวน 6 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ
ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการคือ มหาวิทยาลัยที่มีกระบวนการทางความคิดแบบผู้ประกอบการเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารจัดการ พันธกิจของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการยังคงให้ความสำคัญกับพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการจำแนกเป็น 7 ด้าน คือ 1) ด้านการนำองค์กรและการกำกับมหาวิทยาลัย 2) ด้านความสามารถขององค์กร 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ 4) ด้านการเตรียมความพร้อมและการสนับสนุนเพื่อเป็นผู้ประกอบการ 5) ด้านความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนภายนอกเพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 6) ด้านความเป็นนานาชาติ และ 7) ด้านการวัดผลกระทบของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ และมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการสร้างคุณค่า โดยการส่งเสริมให้การดำเนินพันธกิจของมหาวิทยาลัยเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสร้างเสริมบทบาทการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในระดับประเทศและระดับโลก
The purpose of this research is to analyze the concept, operations and values of the entrepreneurial university in order to develop research universities in Thailand. This study in 9 countries contexts investigates 9 entrepreneurial universities. Besides, 6 interviews were conducted about entrepreneurial university experts in Thailand’s views. The research instrument was documentary analysis and interview. A content analysis was used to investigate the concept, operations and values of the entrepreneurial university.
The results show that the concept of the entrepreneurial university is the university with the mindset of entrepreneurship as the basis of culture and management. In order to develop research universities toward entrepreneurial university, the operation should focus on 1) focusing on leadership and governance, 2) developing the organization capacity, 3) providing the entrepreneurial education and learning, 4) advocating the business incubation and startups, 5) exchanging knowledge and collaborating with external sectors, 6) developing the internalization and 7) generating the impact measurement of the entrepreneurial university. The values of entrepreneurial university are to reinforce efficiency and effectiveness of the university missions and contribute the role of university in social and economic development.
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Bronstein, J. & Reihlen, M. (2014). Entrepreneurial University Archetypes: A Meta-Synthesis of Case Study Literature. Industry and Higher Education, 28(4), 245-262.
Clark, B. R. (1998). Creating Entrepreneurial Universities: Organisational Pathways to Transformation. Oxford: Pergamon Press.
Committee on Education Reform. (2014). Framework for Education Reform from Thailand’s (draft) Roadmap of Education Reform 2015-2021. Retrieved February 20, 2016 from https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/edu/download/article/article_20141127130525.pdf [in Thai]
Etzkowitz, H. & Leydesdorffb, L. (2000). The Dynamics of Innovation: From National Systems and “Mode 2” to a Triple Helix of University–Industry–Government Relations. Research Policy, 29(2), 109-123.
Etzkowitz, H. & Zhou, C. (2008). Introduction to Special Issue Building the Entrepreneurial University: a Global Perspective. Science and Public Policy, 35(9), 627-635.
Etzkowitz, H. (2013). Anatomy of the Entrepreneurial University. Social Science Information, 52(3), 486-511.
Hannon, P. D. (2013). Why is the Entrepreneurial University Important? Journal of Innovation Management, 1(2), 10-17.
Maesincee, S. (2016). Universities: The Importance Knot for Thai People 4.0 Development. Retrieved July 19, 2016, from https://www.facebook.com/drsuvitpage/posts/1405696169737109 [in Thai]
OECD & European Commission. (2012). A Guiding Framework for Entrepreneurial Universities. Retrieved February 19, 2016, from https://www.oecd.org/site/cfecpr/EC-OECD%20Entrepreneurial%20Universities%20Framework.pdf
Office of the Higher Education Commission. (2010). Thai Higher Education Institutions. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.
Verathaworn, T. (2011). The Development Process for World-Class Universities: Case Studies from Nations with High Growth Rates. Journal of Research Methodology, 24(1), 1-48. [in Thai]