ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของประชาขนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและศึกษาปัจจัยมีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความสอดคล้อง (IOC) = .80 และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-step Random Sampling) จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน (n) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การรวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีระดับทัศนคติต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.55, S.D. = .797) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ ปัจจัยด้านสาเหตุการรับรู้ ระดับการรับรู้ ประโยชน์การพัฒนา ที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยมีอิทธิพลอยู่ในระดับ .320 ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของระดับการรับรู้ของประชาชน 10.3 % ด้วยความคาดเคลื่อนของการประมาณ .764

 

 

 

The purposes of this study were to study the attitude level of people in Bangkok towards ASEAN Economic Community, and to study the factors that influence on attitude of people in Bangkok towards ASEAN Economic Community. The research instrument was a questionnaire (Index of item objective congruence: IOC = .80).  A sample of 420 was randomly drawn from people of Bangkok. The data were analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis

The research results indicated that the attitude level of people in Bangkok towards ASEAN Economic Community at was a middle level (x  = 3.55, S.D. = .797) and the factors that influence on attitude of people in Bangkok towards ASEAN Economic Community were 1) the causes of perception, 2) Perception level, and 3) Benefit of Development, Significant at .01 with the appropriateness of the multiple regression analysis of variables .320. These three factors could explain the variation of the level of attitude was 10.3%, with the movement of the measuring approximately 0.764.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2555) รายงานสถิติจํานวนประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2555, จาก http://stat.dopa.go.th/xstat/pop54 1.html 2555

วิเชียร วิทยอุดม. (2554). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์ จํากัด.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2555). การเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเปิดตลาดอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2555, จาก http://www.matichon.co.th

สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2555), อาเซียนจากมุมมองของนักศึกษา 10 ประเทศ. ประชากรและการพัฒนา,32(5).

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552) พฤติกรรมองค์กรสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี, พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ. (2554). การศึกษาการเตรียมความพร้อมการผลิตกําลังคนสู่การเป็นประชาคม อาเซียน. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.news.rmutt.ac.th/archives/11856

Kelman, H.C. (1965). International Behavior.New York: Holt, Rinehart and Winston.

Wagner, J.A. & Hollenbeck, J.R. (2005). Organizational Behavior: Securing Competitive Advantage. 5'hed. Cincinnati, OH: South Western.

Zimbardo, P.G. & Ebbesen, E. (1997). Influencing Attitudes and Changing Behavior: An Introduction to Method, Theory, and Applications of Social Control and Personal Power. 2nd ed. New York: Addison-Wesley.