การออกแบบการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

ชลิต กังวาราวุฒิ
ณมน จีรังสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต โดยวิธีการดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1.เพื่อออกแบบการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต 2.เพื่อประเมินผลการออกแบบการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน แบ่งออกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนบนเว็บ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของการเรียนรู้บนเว็บจำนวน 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวคิดเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน 1 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็น  ผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรม และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลการออกแบบรูปแบบการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2.ผลการประเมินการออกแบบการสอนบนเว็บแบบจินตนาการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาสาขาศิลปะจินตทัศน์ หลักสูตรศิลปกรรม ศาสตรบัณฑิต โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การสอนบนเว็บ จินตนาการศึกษา เศรษฐกิจสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทาเคโอะ ฮิรูชิ. (2546). ไอเดียมาราธอน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น ธเนศ เจยเสนานนท์. (2550). การใช้วัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ของเกาหลีใต้: บทเรียนของประเทศไทย KOCCA: เกาหลีกับการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2554, จาก http://61.47.2.69/-midnight/midnight2544/0009999551.html

พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์. (2543). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาด้วยการสอนเทคนิคแนวข้างและการสอนระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์, วิทยานิพนธ์(จิตวิทยาการศึกษา), กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2543). คิดอย่างสร้างสรรค์, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิพเพรส เอกสารสรุปการบรรยายในโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2553). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ :แนวคิด กลยุทธ์ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Beghetto, Ronald A. (2006). Creativity Self-Efficacy : Correlates in Middle and Secondary Students.Creativity Research Journal 18(4), 447-457.

Bently, John C. (1965). Creative and Academic Achievement. Journal of Education Research. (7) 59.