การศึกษาระบบบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด เพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบบริหารจัดการโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพโรงคัดบรรจุให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practices, GMP) การดำเนินงานวิจัยเชิงสำรวจโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดในประเทศไทยจำนวน 30 ราย พบว่า โรงคัดบรรจุแบ่งได้ 3 กลุ่มตามหลักเกณฑ์ GMP คือกลุ่มโรงคัดบรรจุที่กลุ่มที่ยังไม่ได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP กลุ่มโรงคัดบรรจุที่กำลังพัฒนาตามหลักเกณฑ์ GMP และกลุ่มโรงคัดบรรจุที่ได้รับการรับรองตามหลักเกณฑ์ GMP ผลจากการวิจัยสามารถกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการสำหรับโรงคัดบรรจุให้เข้าสู่หลักเกณฑ์ GMP โดยใช้ต้นแบบที่เรียกว่า “THAI” เพื่อให้สามารถผลิตผักและผลไม้สดที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือ Teaching training and Coaching (T) เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ GMP ให้กับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตผักและผลไม้สด Health and Safety (H) เป็นการรณรงค์ให้การผลิตผักและผลไม้สดมีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ และให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงอันตรายของสารพิษตกค้างใน ผักและผลไม้สด Assessment (A) เป็นการจัดให้มีระบบการประเมินตนเอง (Self assessment) ตลอดห่วงโซ่เพื่อใช้สำหรับการวางแผนและปรับปรุงการดำเนินงาน Innovation management and marketing (I) เป็นการจัดการนำเอาแนวคิด กระบวนการ เทคโนโลยีของการดำเนินธุรกิจแบบต่างๆ นำมาประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมและใช้ในการบริหารการตลาดให้โรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Aroonrungsikul, C. & Korpraditskul, R. (2013). Research on Agricultural Commodities and Food Standard for Driving Implementation Strategy along Supply Chain: Fresh Vegetable. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]
Bureau of Food, Food and Drug Administration. (2015). A Practical Manual for Primary GMP. Nonthaburi: Bureau of Food. [in Thai]
Leartrat, K., Khawchaimaha, S. & Sungsri-in, A. (2008). The Supply Chain Management for fresh Vegetable in Nakhonpathom Province. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]
Mulsor, J. & Waisarayutt, C. (2008). Development of Quality and Food Safety Management System of Fresh-Cut Vegetables for Cased Study Wholesale Business. Proceeding of 46th Kasetsart university annual conference, 29 January – 1 February 2008. [in Thai]
Mulsor, J. (2008). Development of Quality and Food Safety Management System of Fresh-Cut Vegetables for Cased Study Wholesale Business. Thesis Project for the Degree of Master of Science, Kasetsart University, Bangkok. [in Thai]
Naritoom, C., Chinnawong, S., Chetsumon, S., Aroonrungsikul, C., Longa, N. & Jarusan, R. (2007). The Project of Study and Produce Model Handbook and VCD of the Vegetable Production in GAP System under the New Alternative for Agricultural Development Project: Quality Vegetable Production for Market of the Small Farmer Groups in Nakhon Pathom Province.Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]
Vanichbuncha, K. (2012). SPSS for Windows (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Wannamolee, W. (2008). Development of Good Agricultural Practices (GAP) for fruit and vegetables in Thailand, paper present for Training of Trainers in Good Agricultural Practices (GAP) and Benchmarking: Global GAP for Fruit and Vegetable. Sheraton Subang Hotel and Tower, Kuala Lumpur, Malaysia, 14-23 July, 2008.