การศึกษาผลการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาการพูด ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

ปิยวรรณ รัตนวารินทร์ชัย
ศุภวุฒิ มาลัยกฤษณะชลี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาผลการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาเพื่อพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลการออกเสียงภาษาอังกฤษและการใช้ระดับเสียงสูงต่ำของนักศึกษา โดยใช้เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บันทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษาไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอก จำนวน 20 คน และบันทึกตัวอย่างเสียงของครูสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าของภาษา จำนวน 1 คน ผู้วิจัยได้รวบรวมบันทึกตัวอย่างเสียงทั้งหมดไปประมวลผลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สัญญาณเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์และประเมินบันทึกตัวอย่างเสียงของนักศึกษาเปรียบเทียบกับเจ้าของภาษา      


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ ส่วนใหญ่ออกเสียงประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบว่าใช่หรือไม่ (Yes/No Question) เป็นระดับเสียงต่ำในประโยค (Falling Intonation) การออกเสียงภาษาอังกฤษและการใช้ระดับเสียงสูงต่ำในประโยคของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา ก่อนและหลังฟังการอ่านออกเสียงโดยเจ้าของภาษา มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยลักษณะสัญญาณเสียงและรูปแบบระดับเสียงสูงต่ำในประโยค (Sentence Intonation) มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นตามจำนวนครั้งที่ฟัง มีการใช้ระดับเสียงสูงในประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบว่าใช่หรือไม่ เลียนแบบเจ้าของภาษา แสดงให้เห็นถึงผลจากการใช้เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษเลียนแบบเจ้าของภาษาต่อประสิทธิภาพการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาในงานวิจัยนี้ แต่อย่างไรก็ตามความสามารถและพัฒนาการในการออกเสียงภาษาอังกฤษขึ้นอยู่กับนักศึกษาแต่ละคน นอกจากนี้ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการอ่านคำศัพท์บางคำ เช่น “Drive” อ่านว่า ไร้, “Nephew” อ่านว่า เนพ-พิว, “Lorry” อ่านว่า ลอ-เร่, “Thursday” อ่านเป็น “Tuesday”, “With” อ่านว่า วิด เป็นต้น สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทักษะการพูดการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในภูมิภาคอาเซียนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charnvivit, P., Thubthong, N., Maneenoi, E., Luksaneeyanawin, S. & Jitapunkul, S. (2003). Recognition of intonation patterns in Thai utterance. Eurospeech 2003, Geneva, 1-4.

Crystal, D. (1975). Prosodic features and linguistic theory. In D. Crytal. The English Tone of Voice.London: Edward Arnold.

Ding, Y. R. (2007). Text memorization and imitation: the practices of successful Chinese learners of English. System, 35(1), 271-280.

Duangloi, M. (2015). Factors affecting English reading problems of students in Rajamangala University of Technology Krungthep. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 3(1), 153-167.

Hardison, D. M. (2004). Generalization of computer-assisted prosody training: quantitative and qualitative findings. Language Learning & Technology, 8(1), 34-52.

Hirst, D. J. & Di Cristo, A. (1998). Intonation systems: a survey of twenty languages. Cambridge: Cambridge University Press.

Huang, L. (2010). Reading aloud in the foreign language teaching. Asian Social Science, 6(4), 148-150.

Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and principles in language teaching (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Lázaro Ibarrola, A. (2010). Imitating English oral texts: a useful tool to learn English pronunciation? Porta Linguarum, 16, 49-63.

Luksaneeyanawin, S. (1983). Intonation in Thai. Ph.D. Thesis, University of Edinburgh, UK.

Onsuwan, C., Duangmal, J. & Panpraneet, P. (2014). Production and perception of Thai lexical tone and intonation in children. 12th International Conference on Thai Studies, University of Sydney.

Stevick, E. (1989). Success with foreign languages: seven who achieved it and what worked for them. Hemel, Hempstead: Prentice Hall International.

Tominaga, Y. (2009). An analysis of successful pronunciation learners: in search of effective factors on pronunciation teaching. Journal of Pan-Pacific Association of Applied Linguistic, 13(1), 127-140.

Val Loon, J. (2002). Improving pronunciation of adult ESL students. TESL Canada Journaurevue TESL du Canada, 20(1), 83-88.