การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS สำหรับหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์
ศศิธร นาม่วงอ่อน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS สำหรับหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2. ทดลองใช้รูปแบบ การเรียนการสอนฯ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ จังหวัดแพร่ จำนวน 21 คน ที่ลงเลือกเรียนหลักสูตรโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ร่างรูปแบบการเรียนการสอน 2) แบบประเมินความเหมาะสม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent


          ผลการวิจัยพบว่า


          1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS สำหรับหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยหัวข้อหลัก 5 หัวข้อ ได้แก่ 1) นโยบายประชาคมอาเซียน AEC (Asean Economics Community) 2) นโยบายของรัฐบาล นโยบายการศึกษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายการพัฒนาของจังหวัด 3) พี้นที่ศึกษา: เครือข่ายและองค์กรต่างๆ ภายในจังหวัด 4) โครงสร้างหลักสูตร 5) เป้าหมายการเรียนการสอน


          2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS สำหรับหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Faculty of Education, Naresuan University. (2013). Workshop guide sheet for Professional Development via Coaching and Mentoring. Phitsanulok. [in Thai]

Kankongsue, T. (2017). Development of the Information Literacy for Veterinary Medicine Using Non-teaching Lectures Technique. PULINET Journal, 4(1), 78-88. [in Thai]

Knowles, S. M. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. New York: Follett.

Kurajinda, W. (2015). 5-Step Learning Process (QSCCS). Retrieved March 30, 2016, from https://goo.gl/4Ltpwm [in Thai]

Ministry of Education. (2009). Basic Education Curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]

Offce of the Basic Education Commission. (2015). 21st Century Skills-Based Learning Approach. Retrieved February 18, 2016, from https://secondary.obec.go.th/newweb/wp-content/uploads/2017/12/E-CEN21book.pdf [in Thai]

Sirisak, P. (2011). The development of an environmental science instructional model based on place-based education approach to promote sense of place and environmental literacy of lower secondary school students. Thesis, Chulalongkorn University. [in Thai]

Sittiwong, T. & Wongnam, T. (2016). Studying of 5-Step Learning Process (Qsccs) for Master’s Degree Students in Educational Technology and Communications Program, Faculty of Education, Naresuan University. Journal of Education Naresuan University, 18(4), 86-98. [in Thai]

Suttirat, C. (2013). Development of Theory. Bangkok: V Print (1999). [in Thai]

Wongyai, V. (n.d.). School of Law. Retrieved August 2, 2014, from https://www.curriculumandlearning.com/upload/หลักสูตรสถานศึกษา_1415863513.pdf [in Thai]