“แร๊พข่าว” การปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียง “News Network” ในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “แร๊พข่าว” การปรับตัวของสื่อวิทยุกระจายเสียง “News Network” ในยุคดิจิทัล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการศึกษาการจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง เพื่อจัดทำโมเดลธุรกิจวิทยุกระจายเสียง
ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดและผลิตรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียง News Network FM 100.5 MHz ของ อสมท. โดยศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรระดับสูง โปรดิวเซอร์อาวุโส และผู้ช่วยโปรดิวเซอร์
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่สถานี News Network ประสบ ได้แก่ (1) ผลกระทบจาก กสทช. เรื่องการคืนคลื่นวิทยุกระจายเสียง (2) ผลกระทบจากทีวีดิจิทัล (3) ผลกระทบด้านเรตติ้งที่ลดลง (4) รายได้จากการโฆษณาลดลง (5) การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี และ (6) พฤติกรรมของผู้ฟัง ทั้งนี้ สถานีได้ปรับตัวเพื่อรับกับปัญหาหลายด้าน ได้แก่ ด้านการจัดรายการ ด้านการสร้างเนื้อหาด้วยการตลาดเชิงเนื้อหา และด้านการเพิ่มรายได้ด้วยการตลาดเชิงกิจกรรมด้านการตลาดเชิงกิจกรรม สถานีใช้ (1) การให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าบริการ โดยให้ผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนั้นมาร่วมรายการในลักษณะให้ความรู้มากกว่าการขายสินค้า (2) การจัดคอร์สสัมมนา (3) การใช้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีชื่อเสียง หรือ Influencer มาเป็นผู้ดำเนินรายการหลัก (4) การจัดกิจกรรมในโอกาสต่างๆ (5) การจัดเยี่ยมชมแบบให้ความรู้หรือ Educational Tour (6) การขายแพ็กเกจเหมา โดยใช้สื่อวิทยุเป็นหลัก
ด้านการตลาดเชิงเนื้อหา สถานีใช้ (1) การวางแผนแต่ละรายการให้มีความแตกต่าง มีจุดเด่นของตนเอง (2) การใช้ multi-platform แต่ไม่ลงเนื้อหาเดียวกัน (3) การสร้างเนื้อหาพิเศษ (Exclusive Content) (4) การพยายามเชื่อมโยง platform (5) การสร้างเนื้อหารูปแบบใหม่ๆ บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ประกอบด้วย การสร้างเนื้อหาด้วยวิดีโอ (Video Content) รายการสถานีระบายทุกข์ เพื่อรับฟังและหาหนทางแก้ไขปัญหาคนกรุง และรายการ Rap News เพื่อสรุปข่าวประจำวันโดยการใช้เพลงแร๊พ และเจาะกลุ่มผู้ฟังวัยรุ่น การสร้างอัลบั้มภาพ การใช้อินโฟกราฟิก (Infographic Template, Infographic Visualized Article) การใช้เนื้อหาส่งเสริมการขาย (Promotional Content) และเนื้อหาที่สร้างการมีส่วนร่วม (Engaging Content)
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
DTAC. (2015). Annual Report 2015. Retrieved January 30, 2016, from https://dtac.listedcompany.com/misc/AR/20160226-dtac-ar2015-th.pdf [in Thai]
Huncharoen, C. (2001). Radio Programme Production. Nontaburi: Sukhothai Dharmathiraj. [in Thai]
Kanchanapokin, K. (2012). Event Marketing. Bangkok: Krungthep Dhurakit Media. [in Thai]
Kasikorn Resesrach Center. (2009). Advertisement on Radio Media. Retrieved June 3, 2009, from https://www.kasikornresearch.com [in Thai]
Longtunman. (2018). Does radio still make proft? Retrieved February 10, 2018, from https://longtunman.com/4233 [in Thai]
MCOT. (2005-2018). Annual Reports. Retrieved January 30, 2019, from https://mcot-th.listedcompany.com/ar.html [in Thai]
Meenak, N. (2017). Content Marketing. What is it? Is it necessary for Online Business? Retrieved February 10, 2018, from https://www.apptepschool.com/content-marketing/ [in Thai]
Paladesh, K. (2018, June 10). Interview. President. MCOT. [in Thai]
Paugsopathai, P. (2014). 5 Strategies for Content Marketing. Retrieved December 27, 2014, from https://blog.readyplanet.com [in Thai]
Porjit, K. (2019, February 20). Interview. Co-producer of FM 100.5 MCOT News Network. MCOT. [in Thai]
Shaw, K. (2012). Market Structure and Competitiveness of F.M. Radio in Thailand before Digitalization. Bangkok: Radio Moderator Association and Academy of Public Enterprise Policy, Business and Regulation. [in Thai]
Shaw, K. (2016). “Phuthorn 4G” Television Chanel 7 Identity in the Digital Age. Panyapiwat Journal, 8(3), 216-228. [in Thai]
Shaw, K. (2017). Opinion of Media Professionals towards their Roles as Social School. Panyapiwat Journal, 9(2), 185-196. [in Thai]
Soonthornyatra, Y. (2019, January 16). Interview. Senior Producer of FM 100.5 MCOT News Network. MCOT.
[in Thai]
Suthiprapa, S. (2018, June10, 20). Interview. Director of FM 100.5 MCOT News Network. MCOT. [in Thai]
Wertime, K. & Fenwick, L. (2008). DigiMarketing New Media and Digital Marketing. Translated by Nonglak Jaruwat and Prapatsorn Wannasathit. Bangkok: Nationbooks. [in Thai]
Wongreongthong, N. (2016). Content Marketing. (Content Marketing (lecture note) Digital Marketing Communication Department, School of Communication). Bangkok: Bangkok University. [in Thai]
Woraphan, D. (1998). Research Report on Structure of Mass Communication Organization Administration: Printed, Radio, Television and Cinema. Bangkok: Thammasard University. [in Thai]
Yousin, S. (2006). Radion Programming and Production Unit 1. Nontaburi: Sukhothai Dharmathiraj. [in Thai]
Voracharatsri, A. (2013). Content Marketing on Facebook Fanpage and Consumer Buying Attention. Thesis School of Communication Arts, Chulalongkorn University. [in Thai]