ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ของผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

บุษกร คำโฮม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวของสถานประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างคือ สถานประกอบการโรงงานจำพวกที่ 3 ซึ่งเป็นโรงงานประเภทที่อาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหรือก่อเหตุเดือดร้อนอันตรายต่อประชาชน จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดและต้องได้รับใบอนุญาตก่อนตั้งโรงงาน โดยคัดเลือกจากโรงงานในจังหวัดอุบลราชธานีที่ผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ใช้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับจำนวนประชากร ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการจำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประกอบกิจการโดยจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด มีระยะเวลาดำเนินกิจการมากกว่า 10 ปี ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต มีจำนวนเงินทุนจดทะเบียนของสถานประกอบการมูลค่าระหว่าง 1 ล้าน ถึง 5 ล้านบาท มีพนักงานในสถานประกอบการจำนวน 16-50 คน และขายสินค้าให้กับลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวของผู้ประกอบการในระดับมาก คือ ความต้องการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร ความง่ายและสะดวกของขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการ และความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กร ตามลำดับ

3. ผู้ประกอบการเห็นว่าการเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวนั้นมีอุปสรรคโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละหัวข้อพบว่า อุปสรรคที่ผู้ประกอบการเห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่           การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐไม่เพียงพอ บุคลากรขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการขอ        การรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว ขั้นตอนในการขอการรับรองมีความยุ่งยาก ขาดข้อมูลข่าวสารและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลมีความยุ่งยาก ตามลำดับ

4. ความต้องการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวของผู้ประกอบการโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่า ประโยชน์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการได้รับในระดับมาก คือ องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว

5. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายในการขอการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวไว้ที่ระดับ 1   รองลงมาคือ ระดับ 5 ระดับ 3 และระดับ 2 ตามลำดับ

 

6. กรณีผู้ประกอบการได้รับการรับรองจากโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวแล้วและต้องการขอการรับรองในระดับที่สูงขึ้นไป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนโดยการตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการจัดทำระบบดำเนินงาน รองลงมา คือ ต้องการให้ภาครัฐจัดการฝึกอบรมและสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้ในการจัดทำระบบ ตามลำดับ

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). อุตสาหกรรมสีเขียว, สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2554, จาก http://www.greenindustrythailand.com/cms/content.php?pagename=home

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). ก.อุตสาหกรรมยกเครื่องทั้งระบบเดินเกมรุกปั้นโรงงานสีเขียวทั่วไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2557, จาก http://www.greenindustrythailand.com/cms/content.php?pagename=newspaper_08-12-201

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). สรุปจํานวนโรงงานรายปีแยกตามระดับ. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2556, จาก http://www.

greenindustrythailand.com/cms/content.php?pagename=summary_factroy_by_year_level

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2556). คู่มือแนวทางการปฏิบัติสําหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียว, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม.

กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์. (2555), มาตรฐานสีเขียว. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2555, จาก http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=16863&section=9

นิจฌานันท์ ศรีวิทยา. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าสู่ระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มธุรกิจประเภทยานยนต์และชิ้นส่วนและไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล: กรุงเทพมหานคร.

ปิยธิดา ตั้งตระกูลสมบัติ. (2556). การปรับตัวของอุตสาหกรรมไทยสู่โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว. สืบค้นเมื่อ1 เมษายน 2556, จาก http://www.freightmaxad.com/magazine/?p=3669

วราภรณ์ กัลยาเลิศ, วีรอร วัดขนาด. (2541). การประเมินสาเหตุที่ไม่ดําเนินการตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ, สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ.

ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2550). การบริหารคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 271-274.

สถาบันสิ่แวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2554). การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงเศรษฐนิเวศ สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2554, จาก http://www.iei.or.th//media/www/file/435/ 90739611378872506.pdf

สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี (2556). รายชื่อโรงงานจําพวก 3. 20 มีนาคม 2556.

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2557). Green Corporation: กลยุทธ์บริษัทสีเขียว ผลิดอกออกใบทางธุรกิจ. สืบค้น เมื่อ 7 มีนาคม 2554, จาก http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=4229

อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์, และอุดม สาระพันธ์. (2551). ความคิดเห็นของผู้ประกอบการส่งออกไทยต่อมาตรฐานสากล ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 20006 Social Responsibility) (เลขทะเบียน099531). ปทุมธานี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อรรณพ ขาวนุ่น. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการจัดตั้งระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 กรณีศึกษา:อุตสาหกรรมผู้ผลิตแผงวงจรรวม (เซมิคอนดักเตอร์) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น: กรุงเทพมหานคร.