ปัจจัยเชิงเหตุของการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีต่อทัศนคติทางเพศ ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วีรพงษ์ พวงเล็ก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความแตกต่างด้านลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ต และทัศนคติทางเพศของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครอบครัวและสัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อนกับการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ต (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ตในแต่ละประเภทกับทัศนคติทางเพศของวัยรุ่น และ (4) ศึกษาความสามารถของลักษณะทางประชากร สัมพันธภาพ  ในครอบครัว สัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อน และการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ต ในการร่วมกันทำนายทัศนคติทางเพศของวัยรุ่น โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน มีค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในของครอนบาค (Cornbrash) อยู่ระหว่าง 0.7415 ถึง 0.858 ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่มีเพศ รายได้ ระดับการศึกษา สาขาวิชา และผลการเรียน (GPA.) ที่แตกต่างกัน มีการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน และวัยรุ่นที่มีเพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา สาขาวิชา ประเภทของสถาบัน และผลการเรียน (GPA.) ที่แตกต่างกัน มีทัศนคติทางเพศแตกต่างกัน อีกทั้งยังพบว่า สัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ต            ส่วนสัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางลบกับการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ตของวัยรุ่น และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเปิดรับเนื้อหาทางเพศบนสื่ออินเทอร์เน็ตในแต่ละประเภท                 มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับทัศนคติทางเพศ โดยพบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายทัศนคติทางเพศของวัยรุ่น ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัว ผลการเรียน ประเภทของสถาบันการศึกษา และสัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อน โดยสามารถนำมาสร้างเป็นการทำนาย คือ ŷ = 1.425 + 0.536 (สัมพันธภาพในครอบครัว) + 0.160 (ผลการเรียน) -0.137 (ประเภทของสถาบันการศึกษา) – 0.148 (สัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อน) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายสมการได้ร้อยละ 34.5 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.588 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา, กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติกร มีทรัพย์. (2538), วัยรุ่นกับกลุ่มเพื่อน, เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการวัยรุ่นและการอบรม. นนทบุรี สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กุหลาบ รัตนสัจธรรม, วิไล สถิตเสถียร, ถิรพงษ์ ถิรมนัส และพัชนี สุวรรณศรี. (2540), รายงานการวิจัย เรื่องสัมพันธภาพในครอบครัวกับปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในภาค ตะวันออก.โครงการพัฒนาภูมิปัญญาและการวิจัยเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์, สํานักนโยบายและแผน อุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร: สํานักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.

จริญญา นิลแพทย์. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านเนื้อหาบันเทิงและบุคคลในวงการบันเทิงที่มีต่อทัศนคติในเรื่องความรักและเพศสัมพันธ์ของเด็กวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารวี ยั่งยืน. (2549). สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อน การเปิดรับเกมส์ออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตอําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ, วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิรดา มหาเจริญ. (2547). การศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบของการเปิดรับสื่อเกมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตอําเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ช่อผกา กิจเจริญทรัพย์. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิดของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร, ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

ชุลีพร อินทรไพบูลย์. (2536), ค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมในเรื่องเพศของนักเรียนวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชายไทย รักษาชาติ. (2548). การค้าหญิงกับมิติเรื่องเพศวิถีและสื่อลามกในอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูรย์. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับเพศศึกษาของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร,วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงหทัย นุ่มนวน. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนวรรณ แจ่มสุวรรณ. (2543). สื่อกับการกระทําความผิดทางเพศ: ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจํากลางคลองเปรม.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542) สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร พานิชสุข. (2522), รายงานผลการวิจัยเรื่องทัศนคติและความต้องการของอาจารย์และนักเรียนมัธยมสาธิตรามคําแหงในเรื่องการสอนเพศศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศารัตน์ ทองอุปการ. (2538), ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวและทัศนคติต่อเรื่องเพศของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรมะ สตะเวทิน (2539), หลักนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ภรณี วัฒนสมบูรณ์ และณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2541), การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนไทย. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2529). แนวคิดลักษณะทางประชากรศาสตร์ เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรพิมล เจียมนาครินทร์. (2539), พัฒนาการวัยรุ่น, กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อแกมม.

โพลชี้โจชายหญิงนิยมเซ็กซ์ผ่านเน็ต. (2550, พฤศจิกายน 20) หนังสือพิมพ์ข่าวสด, น. 1.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538), เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น

วศิน บํารุงชีพ. (2552, พฤษภาคม 21) อินเทอร์เน็ต เซ็กซ์ ยาเสพติด ปัญหาวัยรุ่นไทยอย่ามองข้าม. หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์, น. 43.

วันทนีย์ วาสิกะสิน. (2526). ปัญหาพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์กับงานสังคมสงเคราะห์, กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชรภรณ์ รังสีกุลพิพัฒน์. (2546), รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวที่มีผลต่อความรู้ และทัศนคติในเรื่องเพศ: ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540) จิตวิทยาพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ประกายพรึก.

สกล วรเจริญศรี. (2545), การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนวัยรุ่น วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. “รายงานผลการสํารวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนปี 2556” สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2557, จาก http://www.nso.go.th

สุชา จันทร์เอม. (2541), จิตวิทยาเด็ก, กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สุธาทิพย์ แสงวัฒนกุล. (2536) ทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหงที่มีต่อการปล่อยตัวทางเพศก่อนสมรส.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประชากรศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล.

หน้ากระดาษบนฟ้า: การเติบโตของเฟสบุ๊ค. (2553, พฤษภาคม 16) กรุงเทพธุรกิจ, น. 11.

อรอุษา จันทรวิรุจ. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2538). ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เสี่ยงของวัยรุ่น เอกสารทางวิชาการสภาประชากร. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Cover Story. (2543, ธันวาคม), Corporate Thailand, น. 81.

Hoch, L., L. (1968). Attitude Change As A Fungtion of Sex Education in a High School General Biology Class. (Doctoral Dissertation). Available from ProQuest Dissertations and Thetabase (UMI No. 6906742)

Klapper, Joseph. T. (1960). The effect of mass communication. New York: The Free Press.

Nunnally, J.L. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.) New York: McGrew-Hell.

Pavlik, John V. (1995). New media technology. United Sate of America: A Simon & Schuster Company.

Sasse, Connie. R. (1994). Families Today. Illinois: Glencoe/McGraw-Hill.

Schermerhorn, John R., Jr., James G. Hunt and Richard N. Osborn. (2000). Organizational Behavior.(7th ed). New York: John Wiley & Sons.