มหาวิทยาลัยบรรษัทเพื่อการผลิตบัณฑิตยุคใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ต้องอาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้เกิดการเติบโต สร้างความมั่งคั่งและสร้างงาน การก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้หรือสังคมแห่งความรู้ที่สร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันนี้ต้องคำนึงถึงทรัพยากรมนุษย์เป็นสำคัญ ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนทางธุรกิจ เกิดจากทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ อีกทั้งเป็นทรัพยากรที่คู่แข่งขันเลียนแบบได้ยาก และเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานต่างๆ จากการระดมความคิดเห็นการประชุมผู้บริหารรับสูงที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย เรื่องความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัยไทย เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พบว่า ปัญหาของมหาวิทยาลัยไทย ยังขาดการระบุจุดเด่นของมหาวิทยาลัย และบัณฑิตเมื่อเข้าทำงานไม่สามารถเขียนรายงานและนำเสนอได้ การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยบรรษัท (Corporate University) จึงเป็นแนวโน้มใหม่ของการจัดการศึกษาและ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย แนวคิดดังกล่าวมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก เช่น โมโตโรลา วอลท์ดิสนีย์ แมคโดนัลด์ ฟอร์ดมอเตอร์ ซึ่งเห็นความสำคัญให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยบรรษัทขึ้น เพื่อแทนที่การฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเฉพาะด้านของบุคลากร มหาวิทยาลัยบรรษัทจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
นิตยา สําเร็จผล, อานนท์ อาจศิริ, กาญจนา ซินสําราญ, นัดดา อังสุโวทัย และประเสริฐ ศศิธรโรจนชัย. (2542).รายงานวิจัย เรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้.
นิพนธ์ พัวพงศกร. (2555), การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนากําลังคนเพื่อการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
บุญดี บุญญากิจ, นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย, ดิสพงศ์ พรชนกนาถ และปรียวรรณ กรรณล้วน. (2549). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ, จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2550), จัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2551). บทความทางวิชาการประกอบการเสวนาวิชาการ เนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครบรอบ 30 ปี. เสวนาวิชาการเนื่องใน โอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครบรอบ 30 ปี (น. 1-3), นนทบุรี: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมภพ มานะรังสรรค์. (2555). PIM วิถีใหม่แห่งการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2555, จาก http://www.mbamagazine.net/index.php/b-school-category/852-pim
สมภพ มานะรังสรรค์. (2557). Corporate University สร้าง “คน” ตอบโจทย์ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2557,จาก http://www.cpthailand.com/Default.aspx?tabid=129&articalType=ArticleView&articleld=2483
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2556, จาก http://www.nesdb,go.th/Default.aspx?tabid=62
Becker, L., R.J. Poreda, A.G. Hunt, T.E. Bunch, and M. Rampino. (2001). Impact event at the Permian-Triassic boundary: Evidence from extraterrestrial noble gases in fullerenes. Science, 291, 1530-1533, doi:10.1126/science.1057243.
Laff, M. (2006). Wanted: CFOs with communications skills. Retrieved February 13, 2007, from http://
store.astd.org/product.asp?prodid=4282
Nonaka, I. (1991). The Knowledge-Creating Company. Havard Business Review. (Nov.-Dec.): 96-104.
Simon, D. F., & Cao, C. (2009). China's emerging technological edge: Assessing the role of high-end talent.Cambridge, MA: Cambridge University Press.