พฤติกรรมการบริโภค : อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การบริโภคอาหารนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินชีวิตยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุนั้นจะให้ความสำคัญกับเรื่องการบริโภคอาหารมากที่สุดเป็นหลัก อาหารที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มวัยรับประทานเข้าไปนั้นจะต้องมีคุณภาพและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังต้องมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับอาหารและสุขภาพมากขึ้นจึงทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริมตามมา และในอีกมุมหนึ่งก็จะมีกลุ่มที่บริโภคอาหารตามค่านิยมโดยมีส่วนประกอบอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไขมัน นม และเนย สำหรับการเขียนบทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามค่านิยมที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคปัจจุบัน ผลจากการศึกษานั้นพบว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากอดีตเป็นอย่างมาก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่มีการนำอาหารต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมากเช่น นำเข้าอาหารยุโรป อาหารญี่ปุ่น และอาหารเกาหลี จึงทำให้พฤติกรรมของการรับประทานตามค่านิยมสูงขึ้นโดยเฉพาะอาหารจานด่วน กระแสดังกล่าวเกิดขึ้นจากภาวะสังคมปัจจุบัน เช่น รถติด งานเยอะ และไม่มีเวลาปรุงอาหารเอง ส่วนข้อเสียของอาหารจานด่วนนั้นก็มีหลายอย่าง เช่น มีสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ปริมาณไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเพราะในร่างกายของมนุษย์นั้นจะต้องใช้พลังงานจากสารอาหารจึงจะมีสุขภาพดี ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพนั้นพบว่าเมื่ออายุของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคจะมีเหตุผลมากขึ้นในการเลือกบริโภคอาหาร โดยเลือกอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่แข็งแรง และยังส่งผลให้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น อาหารเสริม ผัก และผลไม้ โดยรับบริการหรือเลือกซื้อจากห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อที่ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสะบายมากที่สุด
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐวุฒิ เครือสุคนธ์. (2552). ธงโภชนาการ กินพอดี สุขี่ทั่วไทย, ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
น้ําพร อินสิน. (2555) อาหารเพื่อสุขภาพ, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมสาร จํากัด.
ฉันทนา อุตสาหลักษณ์. (2541). พุทธปัญญาคู่มือสร้างปัญญา, กรุงเทพมหานคร : กองทุน พิทักษธรรม.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550), พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และคณะ (2549) พฤติกรรมผู้บริโภคฉบับมาตรฐาน, กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จํากัด.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จํากัด.
สายัณห์ เรืองกิตติกุล. (2550). ภาระการเดินทางกับการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลองครักษ์, วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ.
สุชาดา มิ่งเมือง และคณะ. (2549). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. สกลนคร: โครงการความร่วมมือทางวิชาการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Blackwell, Roger D.; Miniard, Paul W.; & Engel, James F. (2006). Consumer Behavior. 10th ed.
Canada : Thomson South-Western.
Schiffman, L.G. & Kanuk, L.L. (2007). Consumer behavior. 9th ed. NJ: Pearson Education International.
Solomon, Michael R. (2007). Consumer Behavior : Buying, Having and Being 7th ed. New Jersey : Prentice Hall.