การศึกษาองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่คิดเห็นต่อความพึงพอใจด้านองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภคที่คิดเห็นต่อความพึงพอใจด้านองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.813 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของประชากรอิสระ สถิติการวิเคราะห์หาค่าความแปรปรวน และการเปรียบเทียบรายคู่ ใช้สถิติในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุประมาณ 15-23 ปี มีสถานภาพโสด/หย่าร้าง ส่วนใหญ่ไม่ประกอบอาชีพ (พ่อบ้าน/แม่บ้าน/นักเรียน/นักศึกษา) และมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า 10,000 บาท เดินทางมาท่องเที่ยวกับเพื่อน โดยมักจะเดินทางมาโดยรถส่วนบุคคล มีวัตถุประสงค์หลักในการเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อใช้บริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนใหญ่ชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยววัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมาทำกิจกรรมไหว้พระทำบุญ ช่วงเวลาในการเดินทางมาท่องเที่ยวในวันเสาร์-อาทิตย์ และนักท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวมาจากสื่อโซเชียล/โฆษณา โดยนักท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจด้านองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว และด้านสิ่งดึงดูดใจทางแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก และในการพัฒนาควรมุ่งเน้นด้านการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมในวันหยุด
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Bangrak Districk Offce. (2018). Local Resources Database in Bang Rak District. Retrieved Feb, 14, 2018, from https://www.bangkok.go.th/bangrak# [in Thai]
Boonlert, C. (2010). Behavior of Thai tourists using online booking services. Master of Business Administration Department of Management, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Chanchuen, N. (2017). Guidelines for promoting recreational tourism Samut Prakarn Province. Dusit Thani College Journal, 11(1), 16-27. [in Thai]
Chantadit, W. (2009). Behavior and satisfaction of Thai tourists studying the market case Amphawa Water, Samut Songkhram Province. Master of Business Administration, Bangkok University. [in Thai]
Chatchakun, T. (2014). Tourism industry (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishing. [in Thai]
Choibamroong, T. (2008). Thai International Tourism 2008. Bangkok: Research Institute for Thai tourism development. [in Thai]
Duangfu, P. (2015). A study of behavior and satisfaction of Thai tourists in traveling Lampang Province. Master of Arts Hospitality and Tourism Industry Management, Bangkok University. [in Thai]
Duanghassadee, K. (1994). Mental health and job satisfaction of non-commissioned police offcers in urban and rural areas of Khon Kaen. Master of Education Thesis, Educational Psychology, Graduate School, Khon Kaen University. [in Thai]
Hamsupho, S. (2000). Population and quality of life development. Bangkok: Odean Store Publishing. [in Thai]
Jittangwattana, B. (2014). Tourist behavior (2nd ed.). Nonthaburi: Fern kha lung Part., Ltd. Printing and Publishing. [in Thai]
Kanchanakit, T. (2017). Recreation and tourism industry (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishing. [in Thai]
Kolter, P. (2000). Marketing Management, Millenium Edition. New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Komolatat, P. (2015). Tourism fundamentals and tourism behavior of Thai to Bang Pa-In Palace. Journal of Research and Development the humanities and social sciences Suan Sunandha Rajabhat University, 7(3), 23-31. [in Thai]
Nimbunjat, M. (2015). Study of tourism components and community participation that affects the sustainability of ecotourism (Khao Laem National Park). Master of Business Administration, Silpakorn University. [in Thai]
Parasakul, L. (2012). Tourism behavior (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishing. [in Thai]
Pelasol, J. (2012). A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo, Philippines. International JPAIR Multidisciplinary Research, 7(1), 13-42.
Petharaporn, N. (2015). Behavior and satisfaction of Thai tourists towards Koh Kred tourism in Nonthaburi province. Panyapiwat Journal, 7(Special), 63-72. [in Thai]
Proirungrot, R. (2015). Phrưttikam naktho ngthi eo [Tourist Behavior]. Bangkok: O.S. Printing House.
Sitthicharoen, C. (2007). Tourism behavior in the north of Thai tourists. The Guidelines for promoting recreational tourism in Samut Prakan Province. Master of Business Administration, Graduate School, Chiang Mai University. [in Thai]
Songsuk, S. (2014). Factors affecting the satisfaction of Thai tourists in managing the source Phi Phi Don Island–Phi Phi Leh Island, Krabi Province. Master of Business Administration College, Stamford University. [in Thai]
Suthon, P. (2011). Tourism behavior affecting satisfaction in the homestay business case study in Amphawa district, Samut Sakhon province. Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]
Tepsongkao, P. (2018). Tourism geography (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Publishing. [in Thai]
Thambut, P. (2006). Teaching and learning materials for eco-tourism. Bangkok: Tourism Development Institute for Environmental Conservation, Srinakharinwirot University. [in Thai]