การสื่อสารและการรับรู้ความเป็นไทยในผลิตภัณฑ์อาหารไทย: กรณีศึกษาชุดผัดไทยปรุงสำเร็จ

Main Article Content

ศิระ นาคะศิริ
รัชนีกร รัชตกรตระกูล

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสื่อสารและการรับรู้ความเป็นไทยในชุดผัดไทยปรุงสำเร็จที่วางจำหน่ายในศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าบริเวณสี่แยกปทุมวันและสี่แยกราชประสงค์ โดยใช้แนวคิดเรื่อง สัญวิทยามาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาการสื่อสารความเป็นไทย และใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาการรับรู้ความเป็นไทยของนักท่องเที่ยว
     ผลการวิจัยพบว่า ชุดผัดไทยปรุงสำเร็จใช้สัญญะ 4 ประการคือ 1) ตราสินค้า ได้แก่ ชื่อตราสินค้า เครื่องหมายการค้า และสโลแกน 2) ภาพประกอบ 3) ลายไทย และ 4) การสร้างเรื่องเล่า เพื่อสื่อสารความเป็นไทย 6 ประการคือ 1) ความเป็นไทยคือ ความสมบูรณ์ของอาหารและรสชาติ 2) ความเป็นไทยคือ ความผูกพันในระบบเครือญาติ 3) ความเป็นไทยคือ ความอิสระและเรียบง่าย 4) ความเป็นไทยคือ ความวิจิตร บรรจง 5) ความเป็นไทยคือ ความใกล้ชิดธรรมชาติ 6) ความเป็นไทยคือ สยามประเทศในอดีต ส่วนการรับรู้ความเป็นไทยพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเป็นไทยในแง่ของความเป็นไทยคือ ความอิสระและเรียบง่าย และความเป็นไทยคือ สยามประเทศในอดีตมากที่สุด อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากความเป็นไทยแล้ว ปัจจัยด้านราคาและความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ก็มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonmak, S. (2013). Thai Restaurant in Australia: The Reflection of “Thainess” and Adaptation”. Journal of Liberal Arts, 5(1), 90-103. [in Thai]

Iverson, K. (2017). The best 7 shopping mall in Bangkok. Retrieved March 1, 2018, from https://theculturetrip.com/asia/thailand/articles/the-7-best-shopping-malls-in-bangkok/Khovibulchai, P. (2013). Power Negotiation and the Changing Meaning of Phad Thai: From Nationationalist Menu to Popular Thai National Dish. Journal of Language and Culture, 23(2), 75-94. [in Thai]

Kijvikran, N. (2014). Thai Food Image, Quality Perceived and Tendency to Revisit Thailand. Journal of International and Thai Tourism, 10(1), 12-28. [in Thai]

Krachodnok, S. (2010). Thai Food Presentation: Emphasize on Thai Characteristics. Veridian E-Journal, Silapakorn Universtity, 3(1), 63-78. [in Thai]

Najpinij, N. (2011). Constructing “Thainess” within International Food Space: Thai Gastronomy in Five-Star Hotels in Bangkok. Doctoral dissertation, Chulalongkorn University. [in Thai]

Panthong, A., Aussawachinda, C., Ratchano, S., Tantranon, P. & Soottreenatr, L. (2001). A Study of Thai Characteristics as an Application for Jewelry Design. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

Prachakul, N. (2009). Retrace Characters Reconceptualize idea about Literature. Bangkok: Reading. [in Thai]

Samitthikrai, C. (2010). Customer Behavior. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Thansettakij. (2017). Thai Brands seduced Chinese Tourist, Tourists Grow up 9 Millions, Expand Shops for Customers. Retrieved February 23, 2018, from https://www.thansettakij.com/content/128051 [in Thai]

Travel141. (2018). 5 best shopping mall in Bangkok. Retrieved March 1, 2018, from https://www.travel141.com/THAILAND/THAILAND-TRAVEL-5-BEST-SHOPPING-MALLS-BANGKOK/

Vitoonchatree, A. (2012). Signifcation of Thai Food Test of Illustration in Food Magazines. Master Degree Thesis, Chulalongkorn University. [in Thai]