การดำเนินงานและส่วนเหลื่อมทางการตลาดของห่วงโซ่อุปทานผักไฮโดรโปนิกส์

Main Article Content

มลฑา สมบุญตนนท์
เออวดี เปรมัษเฐียร
กาญจนา ศรีพฤทธิ์เกียรติ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและส่วนเหลื่อมการตลาดของห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ ในพื้นที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตและกระจายผักไฮโดรโปนิกส์ที่สำคัญของประเทศ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน 3 กลุ่มคือ กลุ่มแหล่งวัตถุดิบ (ผู้ปลูก) จำนวน 15 ตัวอย่าง กลุ่มผู้จัดหา (ผู้รวบรวม) จำนวน 5 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้รับซื้อ (ผู้คัดบรรจุ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม/ร้านอาหาร และตลาดเปียก) จำนวน 10 ตัวอย่าง โดยใช้ตัวแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานในการศึกษาความเชื่อมโยง แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งเป็น 3 ห่วงโซ่อุปทานคือ 1) ผู้ปลูกผ่านผู้รวบรวมต่อเนื่องถึงตลาดเปียก มีส่วนเหลื่อมทางการตลาดร้อยละ 69 2) ผู้ปลูกผ่านผู้รวบรวมส่งต่อไปยังผู้คัดบรรจุต่อเนื่องถึงโรงแรม/ร้านอาหาร มีส่วนเหลื่อมทางการตลาดร้อยละ 80 และ 3) ผู้ปลูกผ่านผู้รวบรวมส่งต่อไปยังผู้คัดบรรจุต่อเนื่องถึงห้างสรรพสินค้า มีส่วนเหลื่อมทางการตลาดร้อยละ 95 โดยผลการวิเคราะห์พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกเป็นกลุ่มที่มีต้นทุนและมีความเสี่ยงมากที่สุด นอกจากนี้ผู้รวบรวมเป็นตัวแปรสำคัญที่ปรับสมดุลอุปสงค์และอุปทานของห่วงโซ่อุปทาน และเป็นผู้ส่งผ่านวัตถุดิบไปสู่ผู้เกี่ยวข้องจนสิ้นสุดห่วงโซ่อุปทานของทุกห่วงโซ่ ข้อจำกัดของกระบวนการภายในห่วงโซ่ที่สำคัญคือ การควบคุมคุณภาพ ส่งผลให้ส่วนเหลื่อมทางการตลาดจากผู้ปลูกไปยังห้างสรรพสินค้าเป็นห่วงโซ่ที่มีส่วนเหลื่อมทางการตลาดสูงที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ahmad, M. M. & Feher, P. (2008). Supply chain of fruits and vegetables and Correlated impact of managing the quality. J Food Process Technol, 6(3), 1-11.

APICS. (2017). Quick Reference Guide SCOR Version 12 Supply Chain Operations Reference Model. Retrieved December 8, 2017, from https://www.apics.org/docs/default-source/scc-non-research/apicsscc_scor_quick_reference_guide.pdf

Dr. Thongkwaw. (2017). Do You Want to Grow Hydroponics or Soiless vegetables? How to prepare.

Retrieved August 13, 2017, from https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_11543

[in Thai]

Ongkunanurak, P. (2011). Introduction to Supply Chain Management for Agro-industry. Bangkok: Department of Industrial Agricultural, Kasetsart University. [in Thai]

Pakpuak, C (2015). Supply Chain Management of Rice Straw Bundle Business. Master of Science: (Agribusiness), Kasetsart University. [in Thai]

Patumnakul, S., Pewthongngam, K., Polyorach, K., Suttachai, S. & Suksawat, C. (2009). Agricultural Supply Chain: Supplier Management. Khonkhan: Nana Wittaya. [in Thai]

Senadee, W. (2015). Hydroponics SMEs in Khao Kho, the largest production base in the country. Kehakaset Magazine, 39(12). [in Thai]

Supapunt, P. & Ekasingh, B. (2013). Supply Chain Management with SCOR Model of Fresh Vegetables Meeting Good Agricultural Practice Standard in Chiang Mai Province. Parichart Journal, Thaksin University, 30(1), 95-119. [in Thai]

Thaksinawisuti, S. (2009). Principles of Agribusiness. Bangkok: Department of Economy, Kasetsart University.

[in Thai]

The Thailand Development Research Institute. (2010). Study of supply chain and logistics management approaches. The objective of this study was to examine the impact of the agricultural and Restructuring of production, trade and investment. Bangkok: Offce of the National Economics and Social Development BoardOffce of the National Economics and Social Development Board. [in Thai]

Thummasang, S., Khamanarong, S. & Khamanarong, K. (2013). Business Administration of Hydroponic Vegetable in the Northeast and The Development to Industry. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 1(1), 54-63. [in Thai]