การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน 3) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนจำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 350 คน ได้มาจากการสุ่มแบบใช้หลักความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยกำหนดชั้นภูมิเป็นขนาดโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบหลัก “PCA” โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหาร 4 องค์ประกอบ เรียงลำดับความสำคัญ ลำดับแรก ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ รองลงมา ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านวัฒนธรรมองค์การ ตามลำดับ 2) ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ รองลงมา ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลาการ ตามลำดับ 3) ข้าราชการครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารโดยภาพรวม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์และด้านการทำงานเป็นทีมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยข้าราชการครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารในด้านดังกล่าวสูงกว่าข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดใหญ่ และ 4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย นโยบายการยกระดับความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารและนโยบายการยกระดับความเป็นผู้นำทางการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นผู้นำแบบปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาอันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์การให้สู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Akarathitipong, C. (2014). Organization Development in Human resource development teaching materials. Phranakhon Si Ayutthaya: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. [in Thai]
Albano, C. (2007). What is Adaptive Leadership? Retrieved August 12, 2018, from https://www.selfgrowth.com/articles/calbano.html
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Boonla, D. (2013). Relationship between leadership styles and school effectiveness Under the Secondary Educational Service Area Offce 20. Master’s thesis, Khon Kaen University. [in Thai]
Boonprom, P. (2012). Development of job performance of school administrators Primary school Under the Offce of t he Basic Education Commission Academic. Journal of Eastern Asia University, 4(1), 143-149. [in Thai]
Bowonthamachak, T. (2011). The relationship of change leadership and work motivation of employees in small and medium enterprises in the service sector. Master’s thesis, Kasetsart University. [in Thai]
Chaepho, P. (2012). Teachers’ opinions on executive roles in developing teamwork of school teachers Bueng District Offce Under the jurisdiction of Bangkok. Master’s thesis, Ramkhamhaeng University. [in Thai]
Chaichana, S. (2013). Indicators of change leadership of basic school administrators. Ph.D. thesis, Khon Kaen University. [in Thai]
Dawson, B. & Trapp, R. G. (2001). Basic & clinical biostatistics (3rd ed.). Boston: Lange Medical Books.
Fritzgerald, K. C., Chaiyasongkram, P. & Wongsan, V. (2007). Leadership of the school administrators perceived by teachers in schools under the offce of Phang-nga Educational Service Area. Master’s thesis, Maha Sarakham Rajabhat University. [in Thai]
Geyer, V. (2005). The authorizer and charter school closure: Exercising adaptive leadership to project the public interest. Authorizer Issue Brief, 8, 1-6.
Glover, J., Jones, G. & Friedman, H. (2002). Adaptive Leadership: When Change is Not Enough (Part 1). Organizational Development Journal, 20(2), 15-31.
Heifetz, R. A. (1994). Leadership without easy answers. Cambridge, MA: Belknap Press. Heifetz, R. A., Grashow, A. & Linsky, M. (2009). The practice of adaptive leadership: Tools and tactics for changing your organization and the world. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Offce of Secondary Education Area 4. (2018). Basic school information Under the Offce of Secondary Educational Service Area 4 (Pathum Thani). Retrieved August 1, 2018, from https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=101704 [in Thai]
Phiphatphon, D., Jun-eiam, P. & Kosalanantakul, O. (2010). Executive Leadership Educational institutions according to the opinions of teachers Under the offce of Pathumthani Education Area Offce. Master’s thesis, Valaya Alongkorn Rajabhat University under Royal Patronage. [in Thai]
Powphan, C. (2015). Basic concepts and theories of leadership of school administrators in the 21st century. Journal of Educational Management for Local Development to the ASEAN Community: New Directions in the 21st Century, 1(1), 301-313. [in Thai]
Saenkaew, A. (2015). Adaptation leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Offce 19. Master’s thesis, Khon Kaen University. [in Thai]
Sims, B. D. (2009). Complexity, Adaptive Leadership, Phase Transitions, and New Emergent Order: A Case Study of the Northwest Texas Conference of the United Methodist Church. Doctor
of Philosophy in Organizational Leadership, Regent University. [in Thai]
Simsen, O. (2013). Executive service leadership affecting school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Offce 25. Master’s thesis, Khon Kaen University. [in Thai]
Thavee-utit, C., Pawabutr, C., Suwantai, W. & Phailai, T. (2012). Academic leadership development model of secondary school administrators Under the Offce of the Basic Education
Commission In the northeast region. Doctoral thesis, Sakon Nakhon Rajabhat University. [in Thai]
Uhl-Bien, M., Marion, R. & McKelvey, B. (2007). Complexity Leadership Theory: Shifting leadership from the industrial age to the knowledge era. Leadership Quarterly, 18, 298-318.
Watekanan, B. (2016). Guidelines for the development of core competencies of private school administrators Under the Offce of Songkhla Primary Educational Service Area 2. Master’s thesis, Hat Yai University. [in Thai]
Yawiraj, N. (2017). Organizational change and development management (2nd ed.). Bangkok: Triple Group Company Limited. [in Thai]