การศึกษาสภาพการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนจีนในภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเรียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนจีนในภาคเหนือใน 6 ด้านคือ ด้านหลักสูตร ด้านครู-อาจารย์ผู้สอน ด้านผู้เรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านปัจจัยที่สนับสนุนต่อการเรียนการสอน และด้านการประเมินผล และศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารการสอนภาษาจีนของครูโรงเรียนจีนในภาคเหนือใน 5 ด้านคือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมวิชาการ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) นักเรียนที่เรียนโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีนในภาคเหนือ 89 โรงเรียน จำนวน 342 คน และ 2) ครูที่สอนโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีนในภาคเหนือ 89 โรงเรียน จำนวน 206 คน ได้มาโดยหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ และทำการสุ่มคัดเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่เรียนโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีนในภาคเหนือ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในการเรียนภาษาจีน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้เรียน รองลงมาคือ ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านปัจจัยที่สนับสนุนต่อการเรียนการสอนด้านการประเมินผลและด้านครู-อาจารย์ผู้สอน
2. นักเรียนที่เรียนโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีนในภาคเหนือ ที่มีเพศ และเรียนในจังหวัดที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในการเรียนภาษาจีน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกันยกเว้นนักเรียนที่เรียนระดับชั้นแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในการเรียนภาษาจีน ด้านการประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนโดยรวมและด้านอื่นๆ อีก 5 ด้านไม่แตกต่างกัน
3. ครูโรงเรียนจีนในภาคเหนือมีการปฏิบัติการบริหารการสอนภาษาจีน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน และด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมวิชาการ
4. ครูโรงเรียนจีนในภาคเหนือที่มีสถานะ อายุ และวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีการปฏิบัติการบริหารการสอนภาษาจีน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Aksaranukroh, S. (2009). Teaching of language and culture skills. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Amornvivat, S. (2003). Academic article on improvement of curriculum for quality of Thai people in the next decade. Bangkok: The Royal Institute. [in Thai]
Attawet, P. (2015). Development of curriculum in English language for medical professionals of Radiation Division, Central Chest Institute of Thailand. Master of arts’ thesis, Kasetsart University. [in Thai]
Bureau of Academic Affairs, Offce of Basic Education Commission (2017). Statistics of teacher-students of provinces in the north. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand printing. [in Thai]
Department of Academic Affairs. (2016). Administration of fundamental education curriculum of
English language subject as of Year 2011. Bangkok: Kurusapa Ladphrao Printing. [in Thai]
Huang, M. (2015). Guideline for teaching Mandarin Chinese language in senior high schools in
Bangkok. Master of education program’s thesis, Mahidol University. [in Thai]
Jaithiang, A. (2003). Principles of teaching. Bangkok: Odeon Store printing. [in Thai]
Jongsathapornsit, S. (2014). Study of method of learning English language of the Grade 11 students of schools under under Department of General Educationof Bangkok. Master of education program’s thesis, Silpakorn University. [in Thai]
Kaiyawan, Y. (2000). Techniques and methods of teaching. Bangkok: Suesermkrungthep. [in Thai]
Kwangsawas, T. (2006). Manual in English teaching. MahaSarakham: MahaSarakham University press. [in Thai]
Leksukhum, N. (2002). Effects of learning life skills for self-development in emotional intelligence (Good Smart Happy) based on the concept of the Department of mental health with psychological training program. Bangkok: Faculty of Education, Suan Dusit Rajabhat University. [in Thai]
Li, J. J. (2008). The Defciencies of Chinese Teaching in the Northern Part of Thailand—Case Study of Montfort College Secondary School in Chiangmai. Journal of Baoshanshi, 27(4), 25-27. [in Chinese]
Li, Z. (2016). The Evaluation and the Pattern of Development of Chinese Teaching in Northern Part of Thailand in the Context of Chinese Language. Journal of Research on Education for Ethnic Minorities, 27(1), 131-133. [in Chinese]
Limnukorn, P. (1996). China in the era of dragon coming out of the cave. Bangkok: Sky Train. [in Thai]
Nammongkol, J. (2015). Effectiveness of academic administration in the perspective of executives and private school teachers teaching Chinese language in Bangkok and vicinity. Master of education’s thesis, Suan Dusit Rajabhat University. [in Thai]
Offce of Basic Education Commission (2006). Curriculum and instruction management according to fundamental education curriculum as of Year 2001. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]
Phutananusorn, J. (2014). Administration of Chinese language teaching in Chinese language schools under commission of private education promotion. Master of education’s thesis, Dhonburi Rajabhat University. [in Thai]
Sanguannam, K. (2013). The Study of the use of foreign language curriculum (Chinese language) in schools under Bangkok affliation. Master of arts’ thesis, Chulalongkorn University. [in Thai]
Sheffeld, E. (1974). Teaching in the Universities-No One Way. Montreal: Mc Gill-Queen’s University
Press.
Supametee, T. (1990). Curriculum and educational management. Bangkok: Department of Curriculum
and Instruction, Dhonburi College of teacher. [in Thai]
Tungsang, P. (2001). Development of the management curriculum for middle managers State
Railway of Thailand. Master of arts’ thesis, Mahidol University. [in Thai]
Tyler, R. W. (1950). Basic principles of curriculum and instruction: Syllabus for Education 305. Chicago: University of Chicago Press.
Visawatheranon, S. (2006). The development of teaching quality of secondary schools in the vicinity of Bangkok. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Worakham, P. (2016). Educational Research. Mahasarakham: Taksila printing. [in Thai]
Xu, Z. (2008). The Circumstance and the Prospect of Chinese Teaching in the Northern Part of Thailand. Academic Journal of Huaqiao University, 3, 116-118. [in Chinese]
Yamane, T. (2016). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.