ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา และผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากระดับคะแนนของผู้ที่อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานจากการทำแบบวัดระดับความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต และมีความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มจำนวน 24 คน จากนั้นกลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์แบบกิจกรรมกลุ่ม 6 กิจกรรม หลังการทดลองให้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดทำแบบวัดระดับความฉลาดทางอารมณ์ชุดเดิมอีกครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) คะแนนจากแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) ในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลองใช้การคำนวณค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนการวัดก่อนและหลังการทดลองใช้การทดสอบค่าที (t-test) ในระหว่างการทำกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ทั้ง 6 กิจกรรม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการใช้การสังเกตพฤติกรรมในระหว่างร่วมกิจกรรม และหลังจากผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันแล้วใช้การพูดคุยสอบถาม ใช้การตอบแบบประเมินด้วยการสะท้อนกลับจากผู้ร่วมกิจกรรม โดยแบบสังเกตพฤติกรรมและแบบประเมินความรู้สึกหลังการเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรม และแบบสัมภาษณ์ สรุปวิเคราะห์แบบพรรณนาเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ครบทั้ง 6 กิจกรรมแล้ว พบว่า คะแนนความฉลาดทางอารมณ์หลังทำกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมในทุกด้าน และทุกองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Adunlayaphichet, N. (1999). Effects of using program for developing emotional intelligence upon emotional intelligence level of the frst year nursing students at naval nursing college. Master of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]
Boonyong, W. (2016). Guideline for developing Emotional Quotient for Education student of Rajanagarindra University. Journal of Rajanagarindra, 13(30), 27-35. [in Thai]
Chitcherdwong, W. (2003). A study of students emotional quotient (EQ) at Faculty of Education Burapha Univetsity. Education journal, 14(12), 67-80. [in Thai]
Dechkong, T. (1999). From the Emotional Quotient to the consciousness and intelligence (2nd Ed.). Bangkok: Matichon. [in Thai]
Department of mental health. (2000). EQ: Emotional Quotient. Bangkok: Department of mental health. [in Thai]
Division of Mental Health Promotion and Development, Department of mental health. (2015). User manual for activity guide for developing Emotional Intelligence in Teens (aged 16-18). Bangkok: Division of Mental Health Promotion and Development, Department of mental health. [in Thai]
Eaksakul. E. (2009). Recreational Activities on the development of Emotional intelligence of young football players at Assumption College Thonburi. Master of Science Degree in Recreation Management, Graduate School, Srinakharinwirot University. [in Thai]
Goleman, D. (1995). Emotion Intelligence. New York: Bantam Book.
Goleman, D. (1998). Working with Emotion Intelligence. New York: Bantam Book.
Mangkang, A. (2013). Effect of Group Activity on Emotional Quotient of Mattayom Suksa 6 students at Chonkanyanukoon School, Chonburi Province : A Preliminary Study. HCU Journal, 16(32), 53-72. [in Thai]
Mayer, J. D. & Salovey, P. (1997). “What is Emotional Intelligence?” In P. Salovey and D. Sluyter (Eds.), Emotional development and emotional intelligence: Implications for educators. (pp. 3-31). New York: Basic.
Pongklum, O., Klommake, J., Pakluck, P., Khuttamasoon, T., Bunluesup, W. & Hongthong, M. (2017). The Emotional Quotient among Nursing Students in a Private University, Bangkok. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(3), 9-19. [in Thai]
Punnitamai, W. (2008). Emotional Quotient – EQ Index for the happiness and successful life (7th Ed.). Bangkok: Chulalongkorn University press. [in Thai]
Rittikulsithichai, N. & Chulwanich, S. (2013). A Study of students Emotional Quotient (EQ) at the fuculty of Liberal Arts, Rajamangala University of technology Phranakhon. The budget research from faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [in Thai]
Rogers, C. R. (1970). Encounter groups. New York: Harper & Row.