การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการสร้างคุณค่าของการทำเกษตรอินทรีย์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการสร้างคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขตและ 2)เพื่อศึกษาสถานการณ์ แนวโน้ม รูปแบบ และข้อเสนอแนะในการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต โดยใช้วิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามจากเกษตรกร จำนวน 150 ราย และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ส่วนการสร้างคุณค่าการทำเกษตรอินทรีย์ด้านการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขตนั้น ได้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาเกษตรกรโดยการสร้างศูนย์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการทำเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ให้ดี สำหรับผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์สำหรับเกษตรกรให้ประสบความสำเร็จต่อไปได้
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Benchasri, S. (2010). Organic Agriculture in Thailand. Thaksin University Journal, 13(1), 38-41. [in Thai]
Boonrang, S. (2009). Food Safety Quality of Fresh Organic Vegetables. Faculty of Agricultural Technology, Chiang Mai Rajabhat University (CMRU). [in Thai]
Bureau of non-communicable diseases Thailand, Ministry of Public Health. (2016). Annual Report 2015. Retrieved March 29, 2016 from https://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf [in Thai]
Earth Net Foundation. (2014). Overview of organic agriculture in Thailand between 2011-2015. Retrieved March 28, 2016, from https://www.greennet.or.th/article/411 [in Thai]
Hair, J. F., Black, W. C. & Babin, B. J. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. Upper Saddle River. NJ: Pearson Education.
Jeensorn, W. (2011). Factor affecting Purchase Decision toward Non-Toxic Vegetables of Consumer in Bangkok. Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]
Kongjinda, T. (2013). Crofters’ Acceptance of Organic Farming in the Area of Khom Bang Sub-district Administration Organization Chanthaburi Province. Master of Public Administration, Rambhai Barni Rajabhat University. [in Thai]
Kullawong, S. (2004). Changing from chemical to organic agriculture for environmental sustainability of Ban Pa-Pai, Doi Sa ket District, Chiangmai province. Master of Arts Program in Man and Environment Management, Chiang Mai University. [in Thai]
Parnpech, S. (2016). Indigenous Knowledge of Organic Agriculture in Chachoengsao Province (Research Report). Bangkok: Dhurakit Pundit University. [in Thai]
Pholtawee, W. (2013). The Effect of Rice Subsidy Scheme to Organics Agriculture Farmers Case Study of Chachoengsao Province. Master of Arts Business Economics, Thammasat University. [in Thai]
Pollsrilert, P. (2016). Create awareness values with product composition concepts. Retrieved October 10, 2016, from https://phongzahrun.wordpress.com/2012/08/20 [in Thai]
Pongsakornrungsilp, S. (2012). Principles of Marketing. Bangkok: TOP Publishing. [in Thai]
Pumyai, W. (2005). Study of factors affecting to the success of the operation of rubber farmers in southern Thailand Case Study of Suratthani Province (Research Report). Suratthani: Rajabhat University. [in Thai]
Sengtrakul, A. (2006). Development of a causal model of teachers’ career success in schools under the Department of Education, Bangkok Metropolis. Master of Education Program in Educational Research Methodology, Chulalongkorn University. [in Thai]
Sereerat, S. (2007). Consumer behavior. Bangkok: Pattana Suksa Publishing. [in Thai]
Smithikrai, C. (2004). Personality traits and job success: An investigation in a Thai sample. Journal of Behavioral Science, 1(2), 115-135. [in Thai]
Srigiofun, Y., Mekkayai, T., Pakdee, K., Suwan, K., Tassanakowit, U., Innongshang, S. & Lomlai, S. (2012). Promoting organic agriculture and integrated pest management of San-sai farmers, Chiang Mai province (Research Report). Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]
Srileungon, P., Handee, N. & Kasena, Y. (2018). Organic Farming Group Sa Nam Chai Khed. Publication documents. [in Thai]
Srisatidnarakul, B. (2010). The Methodology in Nursing Research. Bangkok: U&I Inter Media. [in Thai]
Suksamran, T. (2015). The influence of price perceived value and emotional perceived value on trust, customer satisfaction, word-of-mouth and revisit of SF Cinema City in Bangkok. Master Thesis of Business Administration, Rajamangala University of Technology PhraNakhon. [in Thai]
Yimsomboon, U., Karschamroon, S., Angkavanich, S. & Chanphrom, K. (2011). Knowledge management in the organic farming of agriculturalists at Bang Khonthi district, Samut Songkhram province. Srinakharinwirot University Journal, 4(2), 57-63. [in Thai]