แนวทางการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจส่งออกผลไม้มะม่วงแปรรูปฟรีซดราย

Main Article Content

กิ่งฟ้า วรรณเจริญ
นพดล พันธุ์พานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยและอิทธิพลของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ กระบวนการ Freeze Dried ส่วนประสมการตลาด และกระบวนการสร้างนวัตกรรม 2) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจส่งออกผลไม้มะม่วงแปรรูป Freeze Dried 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจส่งออกผลไม้มะม่วงแปรรูป Freeze Dried กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการและลูกจ้างในธุรกิจผลไม้แปรรูปมะม่วง ในภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรีและราชบุรี จำนวน 400 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม 1 ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป กลุ่ม 2 นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป Freeze Dried จำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความเที่ยงตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และวิเคราะห์อิทธิพล แบบมีตัวแปรแฝง


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ พันธมิตรในห่วงโซ่ เทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ การผลิตและขนส่งแบบลีน กระบวนการ Freeze Dried ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ วิธีการขั้นตอนการทำงาน เทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ ระยะเวลาการผลิต อุณหภูมิ ความดัน ระบบควบคุม ระบบ IT ส่วนประสมการตลาด ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่จำหน่าย การส่งเสริมการตลาด กระบวนการสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และนวัตกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ทรัพยากร เครื่องจักร หรือกระบวนการผลิต เพิ่มคุณค่าการรับรู้ของลูกค้า ลดต้นทุน ด้วยการเพิ่มคุณภาพ เพิ่มคุณลักษณะสินค้า 2) อิทธิพลของปัจจัยพบว่า กระบวนการทางนวัตกรรม และนวัตกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปร ส่วนประสมการตลาด 3) แนวทางการสร้างนวัตกรรม จำนวน 6 แนวทาง ได้แก่ 1. ศึกษาระบบ บทบาท และปัญหาหรือข้อขัดแย้งของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน 2. สร้างความร่วมมือของสมาชิกภายในห่วงโซ่อุปทาน 3. บูรณาการกระบวนการทางธุรกิจ 4. สร้างมาตรฐานการผลิต 5. ขยายช่องทางการตลาด และ 6. อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apiprusyasakul, K. (2013). Logistics Information System Management. Bangkok: Focus Media and Publishing. [in Thai]

Chaimunkong, C. (2013). Strategies and supply Zen for global market competition (7th ed.). Nonthaburi: Duangkamonsamai. [in Thai]

Drucker, P. (2002). Managing in the Next Society. London: McGraw-Hill.

Gibbons, A. (2011). Innovation and the Developing System of Knowledge Production. Retrieved January 2, 2018, from https://folksonomy.co/?permalink=2424

Kittiyopas, D., Klumpasut, T. & Na Ayuthaya, N. L. (2012). Study of supply chain and logistic mangoes export in the central and northern regions. Agricultural Science Journal, 43(3Special), 363-367. [in Thai]

Kongsompong, K., Green, R. & Patterson, P. (2009). Collectivism and social influence in the buying decision: A four-country of inter and intra-national differences. Australasian Marketing Journal, 17(4), 142-149.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2004). Principle of Marketing (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice-Hall.

Laundy, P. (2012). An Innovation Discipline Model. Retrieved January 2, 2018, from https://www.bpminstitute.org/resources/articles/innovation-discipline-model

Lummus, R. R. & Vokurka, R. J. (1999). Defining supply chain management: a historical perspective and practical guidelines. Industrial Management & Data systems, 99(1), 11-17.

McKeown, M. (2014). The Innovation. London: Prentice Hall.

Muenklang, J. (2012). Knowledge of innovation. Retrieved October 20, 2017, from https://jittrapawongsamai1.blogspot.com/ [in Thai]

Office of Agricultural Economics. (2009). Production and Marketing of Jasmine Rice. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. [in Thai]

Panpanich, N. (2012). The quantitative relationship between the implementation of McKinsey’s 7S strategy and the sustainability of the competitive advantage of small and medium enterprises in the biotech industry in Thailand. Journal of the Higher Education Association of Thailand, 18(2), 70-79. [in Thai]

Prachachatonline. (2015). Thai mango in the future, the export of lightning “Oland” indicates the link to grow a strong network. Retrieved October 20, 2017, from https://www.mfa.go.th/business/th/news/84/56144.html [in Thai]

Prince of Songkla University. (2017). freezer drying. Retrieved January 2, 2018, from https://www.tistr-foodprocess.net [in Thai]

Research and development of post harvesting and processing of agricultural products. (2007).Preserving fruit and vegetables. Retrieved October 20, 2017, from https://www.doa.go.th/pprdo/index.php?option=com_jotloader&view=categories&cid=1_31ab589a331d54b4140b358be14ff31f&Itemid=13 [in Thai]

SakulSurakapong (2016). Value added products and services in social enterprises. Journal WMS Journal of Management, 5(3), 46-56. [in Thai]

Samerjai, C. & Vareevanich, T. (2013). Marketing Principles. Bangkok: SE-EDucation. [in Thai]

Schilling, M. A. (2008). Strategic management of technological innovation (2nd ed.). NY: McGraw Hill Education.

Tipphachartyothin, P. (2014). Quality Control: The importance of consistency. Journal of Productivity world, 19(110), 91-96. [in Thai]

Vanichbancha, K. (2009). Statistics for research (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Book Center. [in Thai]

Vanichchinchai, A. & Igel, B. (2009). Total Quality Management and Supply Chain Management: Similarities and Differences. The TQM Journal, 21(3), 249-260.

Wallace, J. C., Butts, M. M., Johnson, P. D., Stevens, F. G. & Smiths, M. B. (2016). A multilevel model of employee innovation: Understanding the effects of regulatory focus, thriving, and employee involvement climate. Journal of Management, 42(4), 982-1004.