ตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของสภาพแวดล้อมขององค์การและ คุณภาพชีวิตในงานที่มีผลต่อการรับรู้ความสุขในการทำงานของพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของสภาพแวดล้อมขององค์การ คุณภาพชีวิตในงาน และการรับรู้ความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างสาเหตุของสภาพแวดล้อมขององค์การและคุณภาพชีวิตในงานที่มีผลต่อการรับรู้ความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจกับประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ จำนวน 284 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีการตอบกลับครบทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมขององค์การ คุณภาพชีวิตในงาน และการรับรู้ความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของสภาพแวดล้อมขององค์การและคุณภาพชีวิตในงานที่มีผลต่อการรับรู้ความสุขในการทำงานของพนักงานพบว่า สภาพแวดล้อมขององค์การมีอิทธิพลโดยรวมกับคุณภาพชีวิตในงานด้านผลตอบแทนที่เพียงพอ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านการพัฒนาศักยภาพพนักงานมีค่าอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.520, 0.507 และ 0.626 ตามลำดับ และคุณภาพชีวิตในงานด้านผลตอบแทนที่เพียงพอ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านการพัฒนาศักยภาพพนักงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ความสุขในการทำงาน โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.217
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Abdullah, A. G. K. & Ling, Y. L. (2015). Assessing the interpretation and application of workplace happiness scale from Malaysian school settings using rash model. International Journal of Management Sciences, 6(3), 148-153.
Balaji, R. (2013). A study on quality of work life among employees. International Journal of Innovative Research in Science, Engineering and Technology, 2(2), 470-473.
Boonyoo, T., Rungruangwuddikrai, N., Piriyakul, M. & Khantanapha, N. (2016). Serial mediated effects of intellectual capital and entrepreneurship in transmitting organizational culture to performance of Bus Body Industry. Doctor of Philosophy in Social Sciences Association Ramkhamhaeng University, 6(1), 78-94. [in Thai]
Chaiprasit, K. & Santidhirakul, O. (2011). Happiness at work of employee in small and mediumsized enterprises, Thailand. Social and Behavioral Sciences, 25, 189-200. [in Thai]
Chin, W. W. (2001). PLS graph user’s guide version 3.0. Retrieved January 8, 2018, from https://www.spss-pasw.ir/upload/images/ei8gx66re11tenmq0sm.pdf
Chinachoti, P., Siriwongse, T. & Vivadhnajat, S. (2016). The relation between quality of work life and work happiness of before retirement employee in Industry Nonthaburi Province. MUT Journal of Business Administration, 13(2), 145-161. [in Thai]
Gilmer, V. & Haller, B. (1966). Industrial psychology. New York: McGraw-Hill.
Kasikornbank Public Company Limited. (2015). Sustainable development report 2015. Retrieved December 1, 2017, from https://www.kasikornbank.com/th/Social-Activities/Documents/Employee-for-Sustainable-2015_TH.pdf [in Thai]
_____. (2017). Employees and service networks. Bangkok: Kasikornbank Public Company Limited. [in Thai]
Kiriago, A. N. & Bwisa, H. M. (2013). Working environment factors that affect quality of work life among attendants in petrol stations in Kitale Town in Kenya. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 3(5), 289-296.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Luekitinan, W. (2017). The casual model of work happiness and organizational commitment. Panyapiwat Journal, 9(3), 55-66. [in Thai]
Moos, R. (1986). Work environment scale manual (2nd ed.). CA: Consulting Psychologists. National Statistical Office. (2015). Thai mental health survey (happiness) 2015. Retrieved November 12, 2017, from https://www.m-society.go.th/article_attach/18392/20294.pdf [in Thai]
Poornachandran, B. & Ramya, U. (2017). Work environment: It’s impact on quality of work life among women employees in Bangalore. AGU International Journal of Management Studies & Research, 5, 374-379.
Siriwan, U., Thitikalaya, N., Soonthonsmail, V., Ramabut, C., Plomelersee, S. & Ha, M. (2015). A confirmatory factor analysis of the emotional quotient management model. International Journal of Arts & Sciences, 8(4), 303-318.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.