การพัฒนาเกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ 2) พัฒนาโปรแกรมประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์แบบออนไลน์ 3) เปรียบเทียบผล การประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษกับศึกษานิเทศก์ที่มี วิทยฐานะชำนาญการ โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีแบบ Exploratory sequential mixed method design พัฒนาเกณฑ์การประเมินด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3 รอบ และวัดฉันทามติตามทฤษฎีรัฟเซตกับผู้เชี่ยวชาญ 3 กลุ่ม 21 คน เรียงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) พัฒนาโปรแกรมประเมินแบบออนไลน์ด้วยระบบปฏิบัติการ OS: Linux, WEB: Apache, Script: PHP และDatabase: mysql กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเปรียบเทียบผลการประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ จำนวน 60 คน ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ จำนวน 30 คน และศึกษานิเทศก์ชำนาญการ จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทฤษฎีรัฟเซต และค่า CVI ส่วนสถิติทดสอบ ได้แก่ Kruskal-Wallis test และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) เกณฑ์การประเมินมี 5 องค์ประกอบ (18 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1.1) การบรรลุผลของการจัดการงานนิเทศการศึกษา 1.2) โลกทัศน์์สู่่ความเป็็นสากล 1.3) การปฏิบัติงานนิเทศ การศึกษาตามบทบาทหน้าที่เฉพาะ 1.4) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ และ 1.5) คุณลักษณะ ส่วนตัวของศึกษานิเทศก์ 2) โปรแกรมประเมินแบบออนไลน์เป็นรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน เข้าใช้งานได้ที่ http://www.edusupas.com มี 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หน้าจอโปรแกรม ส่วนที่ 2 หน้าจอหลัก ส่วนที่ 3 หน้าจอ ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 4 หน้าจอการประเมินองค์ประกอบของเกณฑ์ และส่วนที่ 5 หน้าจอรายงานผล 3) ผลการประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษสูงกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”
References
Chartisathian, C. (2014). Cognitive Coaching and Teacher Development. Stou Education Journal, 7(2), 28-35. [in Thai]
Chonburapun, P., Khamdit, S. & Siridhrungsri., P. (2017). The Instructional Supervision Model to Enhance Thinking Skills in Basic Education. Suthiparithat, 31(100), 246-260. [in Thai]
Congress.Gov. (2017). Supervisor Core Competencies. Retrieved August, 2, 2017, from https://www.loc.gov/hr/employment/uploads/loc_supervisor_core_competencies.pdf
Edmonds, W. A. & Kennedy, T. D. (2013). An applied reference guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods. Thousand Oaks, California: Sage Publications.
Ellis, C. (2007). What makes a good Supervisor? Retrieved December 25, 2015, from https://www.scribd.com/document/251798565/what-Makes-Good-Supervisor
Esia-Donkoh, K. & Ofosu-Dwamena, E. (2014). Effects of Educational Supervision Development: Perception of Public Basic School Teachers at Winnera Ghana. British Journal of Education, 2(6), 63-82.
Gentry, W. A., Eckert, R. H., Stawiski, S. A. & Zhao, S. (2016). The Challenges Leaders Face around the World More Similar than Different. Retrieved December 25, 2016, from https://www.
ccl.org/wp-content/uploads/2015/04/ChallengesLeadersFace.pdf
Habibi, A., Sarafrazi, A. & Izadyar, S. (2014). Delphi Technique Theoretical Framework in Qualitative Research. The International Journal of Engineering and Science (IJES), 3(4), 8-13.
Javidan, M. & Walker, J. L. (2012). A Whole New Global Mindset for Leadership. People & Strategy, 35(2), 36-41.
Jeenawat, A. & Daungkaew, R. (2015). A Study of the State of Practices Based on the Standards of Work Performance and Standards of Conduct of Education Profession Practitioners. Stou Education Journal, 8(2), 41-57. [in Thai]
Kriangkrai, P., Chadcham, S. & Ruengtip, P. (2017). Development of Assessment Criteria for a Quality Management System in the Mold and Die Industry. Research Methodology & Cognitive Science, 15(2), 94-108. [in Thai]
Marwanga, F. K. O. (2014). Relationship between Instructional Supervisory Practices by Principals and Academic Performance in Public Secondary Schools in Nakuru Municipality, Kenya. IOSR Journal of Humanities and Social Science (IOSR-JHSS), 19(11), 27-31.
Pankham, S. (2016). The Development of an Expert Panel Consensus Measurement Procedure Using Rough Set Theory in the e-Delphi Technique. Ph.D. (Research and Statistics in Cognitive Science), College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University. [in Thai]
Promsuwan, P., Yawirach, P., Rattanachuwong, P. & Toonkaew, S. (2015). Future Scenario of Supervision for Basic Educational Schools in the Next Decade (B.E. 2556-2565). Journal of Education Mahasarakham University. [in Thai]
Satjapiboon, S. (2017). Supervision Concepts for the Development of Learning Management Competencies in the 21st Century. Silpakorn University Journal, 37(1), 203-222. [in Thai]
Scott, G., Coates, H. & Anderson, M. (2008). Learning leaders in times of change: Academic leadership capabilities for Australian higher education. New South Wales: Higher Education.
Somalingam, A. & Shanthakumari, R. (2013). The Changing Role of Academic Leadership. Educational Confab, 2(1), 81-89.
Stavropoulou, A. & Kelesi, M. (2012). Concepts and methods of evaluation in nursing education –a methodological challenge. Health Science Journal, 6(1), 11-23.
Tasmanian State Service. (2013). Senior Executive Leadership Capability Framework. Retrieved December 25, 2016, from http://www.dpac.tas.gov.au/__data/assets/pdf_file/0015/204711/
FINAL_TSS_Senior_Executive_Leadership_Capability_Framework_-_Endorsed_by_HoA_-_Signed_27-08-13.PDF
Varasunun, P., Sujiva, S. & Wongwanich, S. (2016). Evaluation Capacity Building. Journal of Education Research Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 10(1), 214-228. [in Thai]
Whittaker, C. (2014). Using the E-Delphi Technique in ELT Research. ELT RESEARCH, 29, 1-36.
Yangcharoenyeunyong, S. (2017). Development of the Criteria for Assessing Employee Performance in the Automotive Parts Industry. Ph.D. (Research and Statistics in Cognitive Science), College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University. [in Thai]